วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเจริญเติบโตสูงจะยั่งยืนหรือไม่

              ในช่วงปี 1992-1995 ที่เศรษฐกิจจีนเติบโตสูงกว่าปีละ 10% อัตราเงินเฟ้อ วัดจากดัชนีการบริโภคก็เพิ่มสูงมาก คือสูงถึง 27% ในปี 1994 และ 14.8% ในกลางปี 1995  ทำให้รัฐบาลจีนต้องใช้มาตรการคุมเข้มเพื่อหยุดอัตราเงินเพ้อ  เช่น  ลดการให้สินเชื่อ , ควบคุมราคาสินค้า พื้นฐาน ทำให้ในเดือนพฤศจิกายน      ปี 1997  อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือ 1.1% โดยมีผลกระทบต่อการลดอัตราการเจริญเติบโตของ GDP เพียงเล็กน้อย (ยังโตได้ 9% ในปี 1997)  แต่ในกลางปี 1997 หลังการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำในเอเชีย ก็มีผลให้เกิดปัญหาภาวะเงินฝืด (DEFLATION)  ในจีนตามมา จนถึงปี 2001  อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงมาเหลือระดับ 7.3% ในปี 2001
              มองทางด้านดีมานด์ (ความต้องการ) การเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูงของจีน มาจากการออมและการลงทุนภายในประเทศในอัตราสูง ในปี 1999 การออมในประเทศเป็นสัดส่วนสูงถึง 42% ของ GDP จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการออมสูงสุดในโลก การออมสูง การลงทุนสูง การส่งออกสูง  GDP  เพิ่มสูง ทำให้เกิดวัฏจักรของการเจริญเติบโตสูง  เนื่องจากจีนเป็นประเทศกำลังพัฒนา จึงมีความต้องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทางด้านคมนาคม , ขนส่ง , ทางเรือ , สนามบิน , โรงผลิตกระแสไฟฟ้า ค่อนข้างมาก ถัดมาคือ การเพิ่มความต้องการบริโภคภายในประเทศ   เพราะประชากรจีนมีมาก และยังต้องการบ้าน , อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน , เครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่น โทรทัศน์ , ตู้เย็น , โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งรถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ สำหรับประชากรในเมืองที่เริ่มมีรายได้สูงขึ้น นอกจากนี้ประชากรก็มีความต้องการบริการทางด้านการค้าและการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเป็นประเทศใหญ่มีความหลากหลาย เฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศก็มีตลาดถึง 784 ล้านคน ในปี 2001  การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน จึงมาจากตลาดภายในประเทศสูง  ซึ่งต่างจากประเทศเอเชียอื่นที่เล็กกว่าที่เน้นการพึ่งการส่งออก มากกว่าตลาดภายในประเทศ ด้านส่งออกของจีนที่เติบโตปีละ 15% ก็เป็นผลเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนทางหนึ่ง
              มองทางด้านซัพพลาย (การสนองความต้องการ) จีนมีประชากรจำนวนมาก และฐาน  ทรัพยากรที่ใหญ่ การเติบโตของกำลังแรงงานและการเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ถ้าหากจีนสามารถพัฒนากำลังแรงงานที่มีอยู่มากให้เพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นก็คือความเจริญเติบโตเศรษฐกิจของจีน มาจากการเพิ่มผลผลิตต่อหัวคนงาน และปัจจัยอื่นเช่นการเปิดประเทศ มากกว่าการเพิ่มการลงทุนต่อหัวคนงาน ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปได้ไกลที่กว่าสหภาพโซเวียสที่เพิ่มการลงทุนต่อหัวมากกว่าเพิ่มประสิทธิภาพ นโยบายเปิดประเทศทำให้จีนต้องแข่งขันกันภายนอกรุนแรงขึ้น จึงเป็นแรงผลักดันให้จีนต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วย
              ในปี 1999  ผู้บริหารของจีนเริ่มตระหนักว่า ภาคชายฝั่งทะเลมีการลงทุนและผลผลิตมากเกินไป และจำเป็นต้องขยายการผลิตไปสู่ภาคตะวันตก ซึ่งพัฒนาน้อยกว่าและมีพื้นที่กว้างใหญ่  ถึง 57% ของทั้งประเทศ แต่มีประชากรอยู่ 23% และมีสัดส่วนใน GDP เพียง 13% ดังนั้นภาคตะวันตกจึงเป็นแหล่งใหม่ที่มีโอกาสจะพัฒนาความเจริญเติบโตได้อีก  ในแง่ประชากรของจีน อัตราการเจริญพันธ์เริ่มลดลง มีผลให้โครงสร้างประชากรมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในทศวรรษหน้า โอกาสการได้รับการศึกษาของประชากรจีนโดยทั่วไปยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงค์โปร์โดยเฉพาะผู้ได้เรียนระดับอุดมศึกษา ปัจจัยด้านการพัฒนาการศึกษาที่ยังต่ำอาจทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในระยะยาวชลอตัวลงได้

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น