วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ลัทธิซุนยัดเซ็น

                     ความเป็นผู้มีอุดมการณ์ของซุน  เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เขาดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะของชาวจีน  ผิดกับผู้ร่วมก่อการปฏิวัติคนอื่นๆ เป็นส่วนมาก  ซุนเป็นนักก่อการปฏิวัติที่มีอุดมการณ์เป็นของตนเอง เช่นเดียวกับฟรังโก้ ฮิตเลอร์ เลนิน และเมาเซตุง (ที่ถูกอ่อนเหมาเจ้อตุง) ในสมัยหลัง  เขาเป็นนักผสม “ของดี”ที่มีอยู่ในโลก”ของดี” ที่เป็นของจีนเอง  โดยไม่รังเกียจว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยนักประชาธิปไตยตะวันตก  จากคอมมิวนิสต์โซเวียตหรือจากปรัชญาลัทธิขงจื้อซึ่งเขาถือว่าเป็นศัตรูที่สำคัญต่อความเจริญของจีน  แม้ว่าเขาจะได้ประสบความล้มเหลวตลอดมาในชั่วชีวิตแห่งการปฏิวัติ  แต่เขาก็ยังไม่วายสร้างภาพความรุ่งเรืองของจีนในอนาคต  เขาปรารถนาที่จะเปลี่ยนประเทศจีนที่หุ้มเกาะด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ อันเก่าแก่คร่ำครึ  ให้เป็นประเทศจีนในสมัยที่เต็มไปด้วยความเป็นธรรมและความมั่งคั่งภายในระยะเวลาอันสั้น  เนื่องจากคำสอนของเขาในส่วนที่เกี่ยวกับหลัดการปฏิวัติและองค์การที่ใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐบาล  มีลักษณะพิสดารไปจากนักการเมืองอื่น ๆ เท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์  เขาจึงสมควรที่จะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สถาปนาลัทธิซุนยัดเซ็น(Sun Yat - senism)  ขึ้น
                ลัทธิซุนยัดเซ็นซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดก็คือ ลัทธิไตรราษฎร์ หรือ ซันหมินจู่อี้
( The Three Principles of the people) อันได้แก่เอกราชแห่งชาติ (หมินจู่)  อำนาจอธิปไตยของประชาชน (หมินฉวน) และความยุติธรรมในการครองชีพ (หมินเซิง) ภาษาอังกฤษนิยมแปลเป็นหรือ socialism ภาษาไทยนิยมแปลกันเป็นลัทธิชาตินิยม  ลัทธิประชาธิปไตย  และลัทธิสังคมนิยม  ซึ่งไม่รู้จะตรงความหมายที่แท้จริง
                คำสอนเกี่ยวกับลัทธิไตรราษฎร์แต่ดังเดิมที่ประกาศในปี ๑๙๐๕ นั้นเป็นเรื่องเข้าใจง่ายชาวจีนเป็นเจ้าของประเทศ  มิใช่แมนยูที่ด้อยอารยธรรม  ฉะนั้น  หมินจู่คือการร่วมมือระหว่างชาวจีนโดยลุกขึ้นมาแอกความเป็นทาสจากกาสรปกครองของราชสลวงศ์แมนจู  เมื่อโค่นราชวงศ์แมนจูได้แล้ว   มิให้ผู้ใดมีอำนาจดังจักรพรรดิดังแต่ก่อนซึ่งถือเอาอำนาจอธิปไตยไปใช้แต่ผู้เดียว  นั่นคือ  หมินฉวน   ฉะนั้นการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ระบอบประชาธิปไตยและนั่นคือการมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ  ตามแบบฉบับของประเทศอารยตะวันตก ซุนได้รับความลำบากเล็กน้อย เพราะซุนมีความคิดไปในทางสังคมนิยมซึ่งผิดไปจากสังคมนิยมตะวันตก สังคมที่มีกสิกรเป็นกระดูกสันหลังของชาติ  ทำให้ซุนคิดไปถึงการจัดสรรที่ดินไปในแนวเดียวกับการจัดสรรที่ดินตามระบบบ่อนา  และระบบน่าเฉลี่ยที่ได้ปฏิบัติมาในสมัยโบราณของจีน การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป  ความยุ่งเหยิงอันสืบเนื่องมาจากกรรมกรนัดหยุดงานในประเทศอุตสาหกรรม และการก่อรูปของลัทธิสังคมนิยมในยุโรป เป็นเครื่องกระตุ่นให้ซุนเกิดความเป็นห่วงในอนาคตของจีน  ในคำขวัญของสมาคมถุงเหมิงปี ๑๙๐๕ กล่าวว่า “ผู้ที่บังอาจผู้ขาดควบคุมการครองชีพของประชาชนจะต้องถูกกำจัดออกไปจากสังคม”
                ลัทธิไตรราษฎร์  ฉบับที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงของซุนนั้นรวบรวมอยู่ในคำสอน ๑๖ ตอนของเขา  ซึ่งได้บรรยายเผยแพร่ในปี ๑๙๒๔  ภายหลังที่ซุนยัดเซ็นถูกเฉินชุ่งหมิงขับไล่ออกจากเมืองกวางตุ้งนั้น เป็นปีหัวเลี้ยวหัวต่อในชีวิตของกาสรปฏิวัติของซุน  ประกอบกับความสำเร็จของกาสรปฏิวัติรุสเซีย และขบวนการเคลื่อนไหวอันทรงพลังของกลุ่มปัญญาชนได้สร้างความหวังอันใหม่ให้แก่ซุน ในฐานะที่เป็นคนคงแก่เรียน ซุนมีความคิดเป็นอันมากไปในแนวเดียวกับของพวกปัญญาชนเช่นเดียวกับพวกปัญญาชนส่วนมาในขณะนั้น เขาแอนตี้มหาอำนาจจักรวรรดินิยม  ญี่ปุ่นและอังกฤษยังคงช่วยเหลือรัฐบาลปักกิ่ง ปี ๑๙๒๑ – ๑๙๒๒ เป็นปีที่หลักการลัทธิไตรราษฎร์กำลังอยู่ในระหว่างปรับปรุง ปี ๑๙๒๓ ลัทธิไตรราษฎร์ของซุนเกี่ยวโยงกับลัทธิมาร์กซ์และเลนิน  อันมีแถลงการณ์ร่วมระหว่างซุนกับจอฟเฟเป็นเครื่องแสดง ในที่สุดคำขวัญของที่ประชุมใหญ่ครั้งที่หนึ่งของก๊กมินตั๋ง ในวันที่ ๓๐  มกราคม  ๑๙๒๔  และคำบรรยายหลักการลัทธิไตรราษฎร์อันต่อเนื่องกันในปีนั้น เพิ่มความสมบูรณ์ของการเปลี่ยนแปลงยิ่งขึ้น
                ๑.ลัทธิความเป็นเอกราชของชาติ  ความคิดนี้ได้รับการขยายความใหม่ในปี ๑๙๒๔ การโค่นล้มราชวงศ์แมนจูได้สำเร็จแล้ว  แต่มหาอำนาจจักรวรรดินิยมยังคงถือเป็นขวักไขว่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ผืนแผ่นดินของจีนหาใช่เป็นลัทธิขิงชาวจีนไม่  ซุนได้เพิ่มเอาคำโฆษณาต่อต้านจักรวรรดินิยมมาสอดแทรกหลักการปกครองตนเองที่ควรจะได้แก่ชนกลุ่มน้อยภายในประเทศจีน (ประเทศจีนประกอบด้วยเชื้อชาติกลุ่มใหญ่ ๘ เผ่า คือ ฮั่น แมนจู มองโกล ทิเบต มอสเล็ม เหมียว(แม้ว) เหยา(เย้า) หลี )  หลักการนี้จะได้รับความสำเร็จต่อเมื่อได้มีการปฏิวัติต่อต้านการควบคุมของจักรวรรดินิยม  รวมทั้งชาวจีนเองที่สมรู้น่วมคิดกับจักรวรรดินิยม  หน้าที่ของชาวจีนตามความหวังของซุนนั้น  รวมถึงการช่วยเหลือปลดแอกลัทธิจักรวรรดินิยมให้แก่ประชาชาติ นั่นก็คือ เขาได้ขยายขอบเขตของการปฏิวัติจากภายในประเทศเป็นการปฏิวัติสังคมทั่วไปแห่งโลกด้วย จีนควรให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นในการให้ความช่วยเหลือแก่ชาวเอเชียเพื่อต่อสู้กับจักรวรรดินิยมฝรั่ง  ในขณะเดียวกันจีนควรให้ความร่วมมือกับโซเวียตในการต่อต้านชนชั้นขูดรีด ไม่เลือกว่าผู้นั้นจะมีกำเนิดมาจากแหล่งใด
                ในปัญญาชนกลุ่มน้อยนั้น ความคิดของซุนไม่แตกต่างไปจากความคิดของเหล่าจารีดนิยมที่ได้รับอิทธิพลของลัทธิขงจื้อเท่าไรนัก  ในขณะที่เขาประกาศสนับสนุนหลักการปกครองตนเองให้แก่ชนกลุ่มน้อย  เขากล่าวว่า กาสรกลืนเชื้อชาติ (national assimilation)  นั้นไม่ขัดกับหลักความเป็นเอกราชแห่งชาติ  นั้นก็เท่ากับว่า ถ้าหากชาวจีนสามารถกลืนชนกลุ่มน้อยโดยวิธีการซึมซาบแล้ว ชนกลุ่มน้อยก็ไม่จำเป็นต้องแสวงหาหลักการปกครองของตนเอง  คำสอนนี้เตือนให้คิดถึงหลักการความเป็นพี่น้องและเพื่อนกันในระหว่างชนชาวจีน (ต้าถุง Great Commonwealth)   ซึ่งไม่มีการขีดเส้นแบ่งเชื้อชาติแต่ประการใด
                ๒.  ลัทธิอำนาจอธิปไตยของประชาชน   เช่นเดียวกับกาสรปฏิวัติในประเทศต่าง ๆ ผู้ก่อการปฏิวัติมักจะหวงแหนอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศไว้เป็นการชั่วคราว โดยเหตุผลโฆษณาชวนเชื่อในลักษณะแตกต่างกันไป คอมมิวนิสต์ประกาศว่าระบอบของตนเองระบอบที่ประชาชนมีความเท่าเทียมกันมากที่สุดแต่ลัทธิในการใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศแทนชนชั้นการมชีพนั้น  ได้แก่พรรคคอมมิวนิสต์ ซุนยอมรับความไม่เท่าเทียมกันโดยธรรมชาติขิงมนุษย์  โดยแบ่งความสามารถของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้น (เผด็จการทหาร การปกครองโดยพรรคการเมือง และการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ)  กำหนดอำนาจหน้าที่ของกลุ่มชนที่จะใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศแทนประชาชน การมอบอำนาจเช่นนั้นเป็นการชั่วคราว  ดังนั้นจึงไม่ขัดต่อหลักการอำนาจอธิปไตยของประชาชน
                รัฐบาลในอุดมการณ์ของซุน จะต้องเป็นรัฐที่แบ่งแยกองค์การที่ใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น ๕ สาขา  คือนอกจากมีอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ  ตามคะสอนของมองเตสกิเออ(Monteaguieu) แล้ว  เขายังมีกำหนดอำนาจควบคุมและอำนาจการสอบไล่เข้าไปอีกด้วย รัฐบาลที่แยกผู้ใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น ๕ สาขานั้น จะต้องมีหน้าที่มากที่สุดและได้รับการไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุด  ทั้งนี้เพราะรัฐบาลมีความสามารถ(เหนิง) เปรียบเสมือนสารถีขับรถ  ย่อมเป็นผู้เชี่ยวชาญสมควรแก่ผู้โดยสารจะได้ให้ความไว้วางใจ ในขณะเดียวกันประชาชนจะต้องมีอำนาจนี้มากที่สุด การเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประชาชนอาจแสดงออกได้ ๔ ทาง อำนาจการออกเสียงเลือกตั้ง (Election)  อำนาจถอดถอน (Recall) และอำนาจการลงประชามติ(Referendum)  ในขณะที่รัฐบาลมีความสามารถ (เหนิง) ประชาชนมีอำนาจ(ฉวน) ทฤษฎีของซุนคือการทำรัฐบาลให้เป็นเครื่องจักรกลและประชาชนเป็นวิศวกร นั่นก็คือ ประชาชน ๔๐๐ ล้านคนล้วนแต่เป็นกษัตริย์จะเห็นได้ว่าความคิดเกี่ยวกับรัฐในอุดมการณ์ของซุนอาจสืบสานที่มาจาก ๔ แห่ง  รัฐบาลในระบอบสาธารณรัฐตามความคิดการเมืองตะวันตก ลัทธิ ๔ ประการ และหลักปฏิบัติดังเดิมเกี่ยวกับลัทธิการสอบแข่งขัน  และอำนาจการตรวจตราควบคุมของจีน
๓.     ลัทธิความยุติธรรมในการครองชีพ  (หมินเซิง)  เป็นหลักการที่เข้าใจยากที่สุดของ
ลัทธิไตรราษฎร์  นักการเมืองตะวันตกพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่เข้าใจบ้าง คลุมเครือบ้าง  ทั้งนี้เพราะพวกนี้มักจะตั้งคำถามแก่ตนเองก่อนว่า ซุนเป็นคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมหรือจัดอยู่ในค่ายประชาธิปไตย  แล้วแกะความคิดของเขาไปเข้าสูตรลัทธิใดลัทธิหนึ่ง  ผลก็คือความสับสน  เพรุนสร้างสูตรผสมขึ้นเป็นของตนเอง  โดยอาศัยความรู้ภายในและภายนอกประเทศ  ฉะนั้นความรู้บางตอนของเขาอาจเข้าข้างประชาธิปไตยตามฝ่ายเจียงไคเช็คและพรรคพวกของเขาแอบอ้าง และคำสอนบางตอนก็เข้าข้างหลักคอมมิวนิสต์ตามฝ่ายเมาเซตุงและพรรคพวกอ้างเช่นเดียวกัน
คำสอนในเล่มนี้มิได้แตกต่างไปจากเดิมมากนัก  ข้อเสนออันชัดแจ้งของเขาก็คือการจัดสรร
ที่ดิน  ซึ่งมีปรากฏอยู่ในคำขวัญของสมาคมถุงเหมิงหุ้ยแล้วตั้งแต่ปี ๑๙๐๕  แต่ที่เขาขยายให้กระจ่างขึ้นก็คือการจัดระบบการลงทุน ซึ่งเป็นการเพ่งเล็งถึงระบอบอุตสาหกรรม  ในการที่จะบรรลุผลตามความมุ่งหมายในเรื่องการจัดสรรที่ดินนั้น  เขาเสนอว่า  คุณค่าของที่ดินอันเพิ่มขึ้นเองนั้นให้ตกเป็นประโยชน์ของรัฐ  และการที่จะบรรลุตามความมุ่งหมายในการจัดระบบเรื่องการลงทุนนั้น  เขาเสนอให้รัฐเข้าดำเนินการอุตสาหกรรมและอุคสา หกิจที่สำคัญ ๆ เสียเอง  เมื่อมีคนถามถึงปัญหาหลักความยุติธรรมในการครองชีพของเขา  เขายิ่งสร้างความสับสนให้แก่ผู้ฟังโดยตอบว่า มันเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์และมันเป็นลัทธิสังคมนิยม
                ซุนไม่ห่วงใยคำสอนของเขาจะเอามาจากหรือตรงกับลัทธิคอมมิวนิสต์  หรือลัทธิฟาสซิสม์  หรือลัทธิอื่นใดในโลกนี้  ปัญหาที่เขาว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่นั้น  ได้พิจารณามาแล้วในบทที่แล้ว  การเพิ่มคำโฆษณาต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของเขา  นับว่าเป็นกำลังอันมหาศาลองเขาที่สามารถกำจัดศัตรู  และในที่สุดจัดตั้งรัฐบาลนำโดยพรรคการเมืองตามสูตรข้อ    ของขบวนการปฏิวัติที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น