วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จีนเตรียมแตะเบรกหยุดความร้อนแรงของการเติบโตเศรษฐกิจ

              เศรษฐกิจจีนใน ปี 2003  โตถึง 9.1%  (เศรษฐกิจโลกโต  2.5%)  ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำในเอเชียในปี 1997  เป็นต้นมา ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนเท่ากับ 1.41  ล้านล้านดอลลาร์  แต่รัฐบาลจีนกำลังห่วงว่า การโตแบบรวดเร็วเกินไปอาจจะไม่ยั่งยืนได้ต้นเดือน กุมภาพันธ์ 2004  รัฐบาลกันเริ่มสั่งให้ชลอการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมหลัก เช่น เหล็ก ซีเมนต์ และ อลูมิเนียมอิเล็คทรอไลติค  และ หนังสือพิมพ์  ประชาชนรายวัน ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็เขียนในบทบรรณาธิการ แสดงความน่าเสียใจว่า รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ในอัตราที่ลดลง สวนทางกับการที่ผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ข่าว 2 ข่าวนี้ไม่ใช่ข่าวใหญ่พาดหัว   แต่สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราวิเคราะห์ควบคู่กันไปกับโครงสร้างของผลิตภัณฑ์มวล รวมภายในประเทศผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีน มาจาก 3 แหล่งใหญ่คือ การบริโภค , การค้าต่างประเทศ และการลงทุนในทรัพย์สินถาวร
              ขณะที่การค้า ระหว่างประเทศของจีน ในปี 2003 โตขึ้นจากปีก่อนถึง 37.1%  (มูลค่ารวม  851.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)  แต่การสั่งเข้าเติบโตในอัตราสูงกว่าการส่งออก ทำให้การได้เปรียบดุลการค้าของจีนเริ่มลดลง  ขณะเดียวกันมูลค่าการค้าระหว่างประเทศก็มีสัดส่วนใน GDP สูงขึ้น รัฐบาลได้ออก โครงการสนับสนุน เช่นการคืนภาษีส่งออก เพื่อหาเงินตราต่างประเทศมากขึ้น แต่มีปัญหาการฉวยโอกาสของธุรกิจต่าง ๆ และกลายเป็นภาระทางการเงินของรัฐบาล รวมทั้งสร้างความไม่พอใจกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งตอบโต้ด้วยการฟ้องร้องว่าจีนใช้วิธีการทุ่มตลาด จำนวนการฟ้องร้องมากขึ้นกว่าก่อน
              ตั้งแต่ปี 2000 มาถึงปัจจุบัน จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ได้เปรียบดุลการค้าสหรัฐแซงหน้าญี่ปุ่น ซึ่งทำให้สหรัฐไม่ค่อยมีความสุขนัก ปี 2004  เป็นปีของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ และ การที่สหรัฐต้องขาดดุลการค้าให้จีนมาก  ทำให้นักการเมืองสหรัฐ ใช้เป็นประเด็นหาเสียง ในการที่จะบีบให้จีนต้องลดการได้เปรียบดุลการค้าสหรัฐลง  การบริโภคภายในของจีน มีสัดส่วนต่ำกว่า 45%  ของ GDP  (เทียบกับ 66% ของสหรัฐ) การที่การบริโภคภายในมีสัดส่วนใน GDP ต่ำ เป็นปัญหามาจากการกระจายทรัพย์สินและรายได้ของจีนมีความเหลื่อมล้ำระหว่างคน รวยกับคนจนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันเงินฝากธนาคาร 80% เป็นของคนที่มีเงินฝากเพียง 12% ของผู้ฝากทั้งหมด ที่แย่กว่านั้นคือ ประชาชนกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ เกษตรกร มีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงกับหนังสือพิมพ์ปากกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องกระตุ้นให้ รัฐบาลสนใจแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง  หากว่ารัฐบาล จะส่องกระจกเพื่อมองความเป็นจริง จะพบว่า เกษตรกรถูกเก็บภาษีสูง อย่างไม่เป็นธรรม  เกษตรกรต้องทำงานหนักทั้งปี แต่ต้องเสีย ทั้งภาษี , ค่าธรรมเนียมนานาชนิด ตั้งแต่รัฐบาลกลาง ถึงรัฐบาลท้องถิ่น   ทั้งภาษีตามกฎหมายและนอกกฎหมาย   เกษตรกรเป็นเหยื่ออย่างเป็นระบบ  ทั้งจากการที่ต้องขายพืชผลให้รัฐในราคาที่ต่ำมาก และ ยังจะต้องมาเสียภาษีสูงอีก การลงทุนใน ทรัพย์สินคงถาวร  สามารถทำให้ GDP ของจีนโตได้ราวปีละ 0.87% รัฐบาลจึงมักใช้วิธีเพิ่มการลงทุน เมื่อต้องการกระตุ้นการเพิ่ม GDP รัฐบาลทำได้มาก เพราะรัฐบาลยังเป็นเจ้าของผู้ควบคุมธนาคารทั้งหมด และ รัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่ออกพันธบัตรเงินกู้ได้ จึงมีแต่รัฐบาลที่จะให้เงินกู้สำหรับอุตสาหกรรมหนักได้ ใน 11 เดือนแรกของ ปี 2003  มีการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมหน้า เช่น โลหะ  เคมี  ในอัตราสูง  ถึง 32.8% แต่การขยายการลงทุนในรัฐวิสาหกิจ  ที่มีประสิทธิภาพต่ำและการสูญเสียสูง ก็ก่อให้เกิดปัญหาตามมา พวกเขาขยายผลผลิตมากเกินไป โดยไม่มีความต้องการของตลาดอย่างพอเพียง เช่น ในปี 2005  ผลผลิตอลูมิเนียม จะสูงกว่าความต้องการใช้ถึง  30%  หรือ 3 ล้านตัน แม้รัฐบาลจีน จะเป็นพวกหลงใหลในการเจริญเติบโตของ GDP (เหมือนกับรัฐบาลส่วนใหญ่ รวมทั้งไทย)  แต่พวกเขาก็เริ่มตระหนักว่า ไม่ควรปล่อยให้เกิดความสูญเสีย ทรัพยากร  และ พลังงาน และ การบริโภคมากเกิน  ดำเนินต่อไป  จนเศรษฐกิจขาดความสมดุล และ ไม่อาจพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ นั่นคือ เหตุผลที่ว่า ทำไม่รัฐบาลต้องเตรียมแตะเบรก ชลอความร้อนแรงของการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นไปไม่ได้ที่รัฐจะใส่เงินเข้าไปในโครงสร้างพื้นฐาน โดยไม่เพิ่มปัญหาหนี้เสียของระบบธนาคาร ซึ่งขณะนี้ก็ไม่มั่นคง เพราะมีปัญหาหนี้เสียมากพออยู่แล้ว  เมื่อรัฐบาลลงทุนลดลง , เมื่อภาคธุรกิจเอกชนไม่มีทางจะได้เงินกู้ , เมื่อการค้าระหว่างประเทศ ไม่สามารถเป็นพลังขับเคลื่อน GDP ทดแทนการลงทุนในทรัพย์สินถาวรได้ , เมื่อรายได้ของประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรลดลง เศรษฐกิจของประเทศปีต่อไปก็คงจะต้องอ่อนตัวลง  แต่จีนก็กำลัง เผชิญกับปัญหาที่เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งได้ยาก ในแง่หนึ่ง จีนไม่สามารถจะดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุนภาครัฐ เพื่อ รักษาการเติบโตของ GDP ในอัตราสูง จนเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง จีนก็ไม่อาจทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างช้า ๆ ในอัตราต่ำกว่าที่เป็นอยู่ได้  เพราะจีนต้องแก้ปัญหาการว่างงาน ที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูง ด้วยในขณะเดียวกัน รวมทั้งหากเศรษฐกิจจีนเติบโตในอัตราต่ำ  ก็จะไม่ประทับใจ , ไม่สามารถดึงดูดให้นักลงทุนต่างประเทศอยากเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นได้เท่าที่ ควร
              ปัญหาเร่งด่วน ของจีน คือ ทำอย่างไรจะลดการลงทุนของภาครัฐลงมาโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเติบโตของ เศรษฐกิจมากนัก และทำอย่างไรจึงจะลดภาระของประชาชน ทำให้ประชาชน ส่วนใหญ่มีโอกาส ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้น กว่าที่เป็นอยู่ 
                (แปลเก็บความจาก LI YONG YAN, RED LIGHTS FLATHING FOR CHINA’S ECONOMY ใน ASIA TIMES  ON  LINE  14   กุมภาพันธ์ 2004) 
                หมายเหตุ ผู้แปล -  มีบทความหลายแห่งรวมทั้งธนาคารโลกที่อ้างว่า ปี 2003  เศรษฐกิจจีนโต 9.1%  แต่ทางรัฐบาลจีน รายงานว่าโต 8.5%  ซึ่งน่าจะใกล้เคียงมากกว่า   แต่การโต 8.5%  ก็เป็นอัตราที่สูงมากที่สุดอยู่แล้วในยุคที่เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะเงิน ฝืดหรือราคาฝืด         (DEFLATION)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น