วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิวัติกับการปฏิรูป

                                เมื่อคณะก่อการปฏิวัติได้มีโครงการและองค์การดำเนินงานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  การโต้คารม (สงครามปากกา) กันระหว่างกลุ่มนิยมการปฏิรูปกับกลุ่มสนับสนุนญี่ปุ่น  ฮ่องกง  ฮาวาย   ซานฟรานซิสโก  ล้วนแต่มีหนังสือพิมพ์ปากเสียงของ ๒ คณะโต้แย้งซึ่งกันและกัน  ฝ่ายนิยมการปฏิรูปแม้จะมีเหลียงซึ่งเป็นนักเขียนชั้นหนึ่งของประเทศจีนในขณะนั้นเป็นผู้อุปถัมภ์  แต่เหลียงเองมีจิตใจไม่แน่วแน่ที่จะสนับสนุนราชวงศ์แมนจูดังคัง  อีกประการหนึ่งความเสื่อมโทรมของราชวงศ์แมนจูเป็นการยากที่จะให้เขา  เสาะแสวงข้อดีของระบบพระมหากษัตริย์มาขักจูงใจผู้อ่านได้  นอกจากนั้นการใช้กำลังเข้าปฏิบัติการของพวก ก่อการปฏิวัติโดยการก่อการกบฏขึ้นเนือง ๆ ยังสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่พวกก่อการปฏิวัติได้  พวกก่อการปฏิวัติได้พยายามแทรกแซงเข้าไปในหน่วยทหารของรัฐบาลแมนจูด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทหารตามแผนใหม่  ซึ่งนายทหารมักแต่งตั้งมาจากนักเรียนทหารที่จบจากญี่ปุ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น