วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาสังคม

            การเปิดประเทศและการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ของเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดปัญหาสังคมเพิ่มขึ้นมากมาย เช่น การเพิ่มขึ้นการคาดหมายและความเครียด , อาชญากรรม , และลัทธิความเชื่อโชคลาง รวมทั้งลัทธิความเชื่อทางศาสนา เช่น กลุ่มฟาหลุนกง, ความหลงใหลในการบริโภค  ปัญหามลภาวะทางธรรมชาติและทางสังคม ปัญหาการทุจริตฉ้อฉล ของเจ้าหน้าที่รัฐและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ที่มีอำนาจ ปัญหาการทุจริตฉ้อฉล ที่ระบาดมากขึ้น เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาด ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัญหาทางการเมืองและสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า , มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงด้วย
              ปัญหาสำคัญข้อต่อมา  คือ ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างเมืองกับชนบท หรือภาคอุตสาหกรรม กับภาคเกษตรกรรมที่ยิ่งเพิ่มขึ้น ปี  2001  ครัวเรือนชนบทมีรายได้ถัวเฉลี่ยปีละ 2366 หยวน เมื่อเทียบกับครัวเรือนในเมืองที่มีรายได้เฉลี่ยปีละ 6860 หยวน ต่างกันราว 3 เท่า สถิติรายได้ของชาวชนบทยังเป็นรายได้รวม ทั้งอาหาร , สัตว์เลี้ยง , พืชพันธ์ และ ปุ๋ยที่ต้องใช้ในปีต่อไป ไม่ใช่รายได้สุทธิ เหมือนในเมือง ชาวชนบทยังไม่ได้รับบริการเรื่องบ้าน , การศึกษา , สาธารณสุข , จากรัฐ เหมือนชาวเมือง  และยังต้องแบครับภาระภาษี , ค่าธรรมเนียมทั้งถูกกฎหมาย และ นอกกฎหมาย อีกด้วย โดยทั่วไปเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของพวกเขา  การที่ชนบทยากจน ทำให้ชาวนาหนุ่มอพยพ มาหางานทำประเภทรับจ้างทั่วไป ในเมืองต่าง ๆ ระหว่าง 50 100 ล้านคน โดยที่ภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถรองรับได้ และพยายามกีดกันคนเหล่านี้ออกไปด้วย มาตรการการตรวจสอบทะเบียนสำมะโนครัว
              อย่างไรก็ตาม ทางจีนก็ยังพอจัดการเรื่อง การผลิตอาหารสำหรับคนทั้งประเทศได้ค่อนองข้างเพียงพอ  เนื่องจากการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเกษตร  แต่เทคโนโลยีสมัยใหม่ ก็ทำให้แรงงานเกษตรมีล้นเกินไป จนต้องอพยพไปหางานทำในเมือง และผลผลิตเกษตรที่เพิ่มขึ้น  ก็ทำให้เกษตรกรขายราคาพืชผลได้ต่ำลง  เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรมีความยืดหยุ่นต่ำ กระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่อยู่ในเมือง ก็คือการดึงเอาส่วนเกินจากภาคเกษตรไปช่วยพัฒนาภาคอุตสาหกรรม และทำให้ ภาคเกษตรลดความสำคัญลง ทั้งการจ้างงาน , สัดส่วนใน  GDP  และสัดส่วนในการส่งออก โดยที่รัฐบาลก็ไม่ได้พยาบาลพัฒนาชนบทอย่างจริงจัง ผู้นำรัฐบาลรุ่นหลัง ๆ เป็นพวกปัญญาชนในเมือง จึงขาดความเข้าใจหรือ เอาใจใส่ปัญหาชนบทเหมือนผู้นำรุ่นแรก
              ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จาก JOHN WONG ,CHINA’S ECONOMY บทที่ 5 ในหนังสือ ROBER E. GAMER (EDIT) UNDERSTANDING   CONTEMPORARY    CHINA (SECOND   EDITION)    LYNNE RIENNER PUBLISHER , 2003.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น