วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อิทธิพลของการปฏิวัติรุสเซีย

เช่นเดียวกับวัฒนธรรมตะวันตกในแขนงอื่น ๆ ลิทธิคอมมิวนิสต์เริ่มได้รับความนิยมจากปัญญาชนชาวจีน ภายหลังการปฏิวัติรุสเซียปี ๑๙๑๗ ชาวจีนเป็นจำนวนมากพากันเกิดความชื่นชมการปฏิวัติบอลเชวิคของรุสเซีย โดยถือกันว่ารุสเซียเป็นชาติแรก ที่ได้รับความสำเร็จในการต่อสู้กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และลัทธิจักรวรรดินิยม บางคนมองเห็นลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นหนทางที่จะนำชาติไปสู่ความก้าวหน้าในด้านวัฒนธรรม การเมือง การเศรษฐกิจและการสังคม ผู้หว่านพืชลัทธิคอมมิวนิสต์ที่สำคัญในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้แก่ จอห์น เดวี่ เฉินตู๊ซิ่ว และหลี่ต้าเจา หลี่ศาสตราจารย์ทางวิชาเศรษฐศาสตร์และบรรณารักษ์ตั้งตัวเป็นผู้เผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในปี ๑๙๑๘ เข้าได้เขียนบทความ “ชัยชนะของสามัญชน” และ “ชัยชนะของลิทธิบอลเชวิค” ซึ่งเข้ากล่าวว่า “กาปฏิวัติรุสเซียปี ๑๙๑๗ นั้นเป็นผู้เบิกทางของการปฏิวัติโลกในศตวรรษที่ ๒๐ โลกในอนาคตจะเป็นโลกภายใต้ของผืนธงแดง” สื่อกลางที่สำคัญที่สุดในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์คือนิตยสาร “เยาวชน” ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือน กันยายน และนิตยสาร “สัปดาห์วิจารณ์” ซึ่งออกพิมพ์ออกจำหน่ายปลายปี ๑๙๑๘ นักเขียนที่สำคัญคือ เฉินตู๊ซิว และหลี่ต้าเจา นอกจากนั้นความสนใจในการปฏิวัติรุสเซียและลัทธิคอมมิวนิสต์ในหมู่ปัญญาชน ยังแสดงให้ปรากฏจากการจัดตั้งสมาคมค้นคว้าลัทธิมาร์กซ์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ในต้นปี ๑๙๑๘ ในเบื้องแรกสมาคมนี้ดึงดูดสมาชิกได้ไม่มากนัก และสมาชิกส่วนมากเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย แต่พวกนี้ เช่น เมาเซตุง และจังกว๋อเถา ได้กลายเป็นผู้แสดงบทบาทสำคัญในขบวนการคอมมิวนิสต์จีนในการต่อมา

แม้ว่าคนที่มีความเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์จริง ๆ ในเบื้องแรกนั้นมีจำนวนน้อย แต่พวกนี้แหละเป็นแก่นของขบวนการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม สนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมแหล่งผลประโยชน์ของต่างประเทศ ภาคีธนาคาร ฯลฯ เหตุการณ์เหยียดหยามความเป็นชาติของจีนที่ยังคงดำเนินอยู่นั้น เป็นเครื่องรวบรวมพลังของนักชาตินิยมทั้งที่เป็นคอมมิวนิสต์และที่มิได้เป็นคอมมิวนิสต์เข้าด้วยกัน ดังจะเห็นได้จากขบวนการวันที่ ๔ พฤษภาคมดังได้กล่าวมาแล้ว พวกนี้เห็นว่ารุสเซียในระบอบการปกครองแบบใหม่เท่านั้นที่เป็นมิตรกับจีน เพราะกาปฏิวัติรุสเซียได้ยื่นของขวัญที่จีนต้องการที่สุดมาล่อ คือในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๑๙๑๙ มอสโกได้ประกาศต่อประชาชนชาวจีนว่า รัฐบาลสหภาพโซเวียตจะยกเลิกสิทธิต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลของพระเจ้าซาร์ได้มาจากจีน “อันเป็นกากระทำร่วมกันกับจักรวรรดินิยมตะวันตก”
ปฏิกิริยาของชาวจีนที่มีต่อการปฏิวัติรุสเซียนั้น ทีผลกระตุ้นเตือนความทะเยอทะยานของผู้นำคอมมิวนิสต์ในรุสเซีย ในเบื้องแรกนั้น ผู้นำรุสเซียให้ความสนใจสนับสนุนการปฏิวัติในยุโรปมากกว่าเอเชีย เลนินเชื่อว่าการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์จะได้รับความสำเร็จ เฉพาะในแหล่งที่มีความเจริญในด้านอุตสาหกรรมดังยุโรปตะวันตก ซึ่งเขาถือตามตำราการตีความประวัติศาสตร์ของคาลมาร์กที่ว่า ตามหลักตรรกวิทยา ความเจริญในด้านอุตสาหกรรมจะยังมีผลให้เกิดการปะทะระหว่างทุนกับแรงงาน อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๑๙๑๙ เลนินได้แนะนำสาวกชาวเอเชียของเขาให้รับเอาลิทธิคอมมิวนิสต์ไปปฏิบัติ โดยปรับให้เข้ากับสถานการณ์ซึ่งมวลชนจำนวนมากเป็นชาวกสิกร ทั้งนี้ เขาเรียกร้องให้สาวกของเขาต่อสู้กับเดนของยุคประวัติศาสตร์ตอนกลางมิใช่ทุน และด้วยเหตุนี้พวกสาวกถูกแนะนำให้เชื่อมสัมพันธ์กับอภิสิทธิ์ชนชั้นกลาง ร่วมกันต่อจ้านศัตรูคือ “ศักดินาผู้ขูดรีดและจักรวรรดินิยมตะวันตก”

เมื่อการแทรกซึมเพื่อทำลายลัทธิทุนนิยมในเขตแนวหน้าของยุโรปตะวันตก ประสบความล้มเหลว เลนินและพรรคพวกได้หันมาเพิ่มความสนใจด้านเอเชียมากขึ้น พวกเขาได้ให้เหตุผลว่าความพยายามของพวกนายทุนในย่านเอเชีย ในการป้องกันตนเองจากขบวนการที่เป็นปรปักษ์นั้น ย่อมเป็นการดูดพลังของตัวและจะมีผลทำลายลัทธิทุนนิยมในยุโรปในที่สุด ในทฤษฎีว่าด้วยลัทธิจักรวรรดินิยมในฉากสุดท้ายของลัทธิทุนนิยมนั้น เลนินอธิบายว่า ส่วนเกินของกำไรอันเกิดจากการขูดรีดจากอาณานิคมและอาณาบริเวณด้อยความเจริญนั้น สามารถทำให้นายทุนชาวยุโรปรักษาระดับการครองชีพของทาสในโรงงานอุตสาหกรรม ให้รอดพ้นจากการอดตาย และดังนั้นจึงมีผลให้เลื่อนกำหนดการก่อการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมกรต่อไปได้ เมื่อกำไรเหล่านั้นถูกกำจัดไปและอาณานิคมถูกปลดปล่อยเป็นอิสระแล้ว กรรมกรที่อยู่ในประเทศของตัวก็จะถึงขั้นลุกฮือขึ้นมาก่อการปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีเช่นนี้จะเห็นว่ามีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ผู้ซึ่งมีผลประโยชน์มากที่สุดในบรรดามหาอำนาจทั้งหลายในเอเชีย ก้าวใหม่ที่ผู้นำคอมมิวนิสต์รุสเซียเดินในเอเชีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนนั้นก็เพื่อจะแสวงหาสัมพันธมิตร ผู้ซึ่งจะต่อสู้กับลัทธิจักรวรรดินิยม และซึ่งจะมีผลให้เกิดการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพในยุโรป ยิ่งกว่านั้น การต่อสู้ระหว่างลัทธิชาตินิยมในเอเชียกับจักรวรรดินิยมในยุโรป จะมีผลบรรเทาการบีบคั้นซึ่งมหาอำนาจต่าง ๆ มีต่อสหภาพโซเวียตในขณะนั้น

ยุทธวิธีขั้นมูลฐานของเลนินเกี่ยวกับ “สมมติฐานว่าด้วยปัญหาแห่งชาติ และอาณานิคม” ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากการประชุมครั้งใหญ่ครั้งที่ ๒ ขององค์การคอมมิวนิสต์สากล ในเดือนสิงหาคม ๑๙๒๐ นั้นหลักการที่สำคัญคือ ให้คอมมิวนิสต์สากลให้ความร่วมมือกับรัฐบาลที่เขาเรียกว่า ประชาธิปไตยแผนอภิสิทธิ์ชนชั้นกลาง ในประเทศอาณานิคมและประเทศที่ด้อยความเจริญ แต่จะให้การสนับสนุนต่อประเทศดังกล่าวในการปลดแอกเพื่อความเป็นเอกราช ก็ต่อเมื่อขบวนการปลดแอกเพื่อความเป็นเอกราชนั้นเป็นขบวนการปฏิวัติที่แท้จริง ซึ่งผู้แทนของเขาจะไม่ขัดขวางคอมมิวนิสต์สากลในการที่จะให้ศึกษา จะจัดระเบียบแบบแผนของชาวกสิกรและมวลชนที่ถูกขูดรีดไปในแนวน้ำใจของการปฏิวัติ เลนินได้ย้ำว่า ขบวนการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมนั้น จะเป็นเพียงแต่ส่วนหนึ่งของขบวนการปฏิวัติระบอบคอมมิวนิสต์ในที่สุดทั่วทั้งเอเชีย

ที่บากูในเดือนกันยายน ๑๙๒๐ องค์การคอมมิวนิสต์สากลได้พยายามแสวงหาการสนับสนุนจากนักก่อการปฏิวัติแห่งเอเชีย ผู้นำรุสเซียสนับสนุนให้พวกเหล่านั้นพยายามจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้น โดยกำหนดนโยบายในด้านกลวิธีให้เป็นไปตามสูตรของรุสเซีย สำหรับประเทศจีนนั้น ก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายน ๑๙๒๐ ตัวแทนขององค์การคอมมิวนิสต์สากล เกรกอรี่ วอยทินสกี้ โดยความร่วมมือของเฉินตู๊ซิ่ว และหลี่ต้าเจาได้ไปหว่านพืชลัทธิคอมมิวนิสต์ไว้ โดยการจัดตั้งสมาคมเยาวชนชาวสังคมนิยมขึ้น และในเดือนกรกฎาคมของปีต่อ องค์การคอมมิวนิสต์สากลได้จัดส่งตัวแทนไปช่วยจัดการประขุมใหญ่ครั้งแรกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประชาชนชาวจีน ณ กรงเซี่ยงไฮ้ ในการนี้พรรคซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นปัญญาชนกลุ่มน้อยได้เลือกเฉินตู๊ซิ่วเป็นประธานของพรรค ในเดือนต่อมาพวกนี้ได้จัดตั้งสาขาของพรรคขึ้นในหัวเมืองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาค ในขณะเดียวกัน เซลล์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้จัดตั้งขึ้นในกลุ่มนักเรียนที่ไปศึกษาต่างประเทศ ในฝรั่งเศส เยอรมัน รุสเซีย และญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม ๑๙๒๒ ณ ที่ประชุมใหญ่ครั้งแรกของคอมมิวนิสต์ภาคพื้นเอเชียบูรพาและองค์การก่อการปฏิวัติ ซึ่งจัดให้มีขึ้น ณ กรุงมอสโกและปีโตกราด องค์การคอมมิวนิสต์สากลได้กำหนดงานของคอมมิวนิสต์จีนให้จัดการ “ปลดแอกจากจักรวรรดินิยม” โดยการกำจัดระบบซึ่งสนับสนุนอนาธิปไตยแผนศักดินา ในเดือนกรกฎาคม ๑๙๒๒ ที่ประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์ประชาชนจีนที่จัดให้มีขึ้นครั้งที่ ๒ ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ได้มีมติตามแนวนโยบายที่กำหนดโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งแรก ของคอมมิวนิสต์ภาคพื้นเอเชียบูรพาและองค์การก่อการปฏิวัตินั้นว่า จุดหมายบั้นปลายของพรรคก็คือ การนำลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาใช้เป็นระบอบการปกครององจีน แต่เนืองจากพฤติการณ์แวดล้อมในขณะนั้นทำให้ภาระของพรรคอยู่ที่การนำประชาชนโค่นล้มระบบขุนศึก และกำจัดลัทธิจักรวรรดินิยมออกไปจากผืนแผ่นดินจีน และตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตย

คอมมิวนิสต์รุสเซียไม่เฉพาะแต่จะติดต่อกับคอมมิวนิสต์จีนเท่านั้น แต่ได้ใช้ความพยายามติดต่อกลับกลุ่มชนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นขุนศึกหรือนักการเมืองผู้ซึ่งอาจจะเข้าเป็นสัมพันธมิตรของตน เพื่อต่อต้านจักรวรรดินิยมอังกฤษและรัฐบาล “อันฝู” ณ กรุงปักกิ่ง ในเดือนสิงหาคม ๑๙๒๒ องค์การคอมมิวนิสต์สากลได้ส่งตัวแทนคือ มาริง ( ชื่อจริง Sneevliet เป็นชาวดัทช์ ผู้ตั้งตัวเป็นหัวหน้าบวนการปฏิวัติหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ไปพบซุนยัดเซ็นที่เมืองกุ้ยหลินแห่งมณฑลเกียงซี ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการตกลงเรื่องใดกันโดยเฉพาะ แต่ซุนออกจากที่ประชุมด้วยความเชื่อมั่นว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์แห่งรุสเซียในภาคปฏิบัตินั้นคล้ายคลึงกับความคิดของเขามาก ก๊กมินตั๋งได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมกับการประชุมใหญ่ครั้งแรกของผู้ทำงานหนัก ในภาคพื้นเอเชียตะวันออก ในเดือนมกราคม ๑๙๒๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น