วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงร่างของก๊กมินตั๋ง

                นับตั้งแต่การจัดองค์การพรรคใหม่สำเร็จในปี  ๑๙๒๔  จนกระทั่งการปฏิรูปพรรคในปี  ๑๙๕๐   โครงร่างทั้งในด้านสายการบังคับบัญชาและหลักการของพรรคไม่มีการเปลี่ยนแปลงประการใด 
                สายการบังคับบัญชาของพรรค  สายการบังคับบัญชาของก๊กมินตั๋งอาจแบ่งออกเป็นสี่ขั้น เป็นรูปปิระ    มิดตามแบบฉบับของพรรคคอมมิวนิสต์   ชั้นยอดสุดของปิระมิดได้แก่องค์การบริหารพรรคส่วนกลาง  ถัดลงมาเป็นองค์การบริหารของพรรคในส่วนจังหวัด และองค์การบริหารของพรรคในส่วนตำบลที่เรียกว่า  ชวี  ยังมีองค์การของพรรคที่พิเศษ   และถูกจัดเข้าร่วมอยู่โครงรูปปิระมิดของพรรคดังกล่าวแล้ว  สมาชิกของพรรคบางกลุ่มเป็นกรรกรรถไฟ  กรรมกรท่าเรือ  เนื่องจากมีสถานะพิเศษในสถานที่อยู่  หรือในด้านอาชีพ  จึงรวมตัวกันจัดตั้งองค์การของพรรคขึ้นเป็นพิเศษและให้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงขององค์การบริหารของพรรคในส่วนกลาง  องค์การบริหารของพรรคที่เป็นจีนโพ้นทะเล  องค์การบริหารของพรรคในหน่วยราชการทหาร   ขึ้นตรงต่อองค์การของพรรคส่วนกลางเช่นกัน
                ตามรัฐธรรมนูญของพรรค   คณะกรรมการกลางของพรรคเป็นองค์การที่มีอำนาจสูงสุดในระหว่างที่ไม่อยู่ในสมัยการประชุมใหญ่   ส่วนคณะกรรมการควบคุมส่วนกลาง  มีแต่อำนาจหน้าที่ในด้านควบคุมระเบียบวินัยและการเงินของพรรคเท่านั้น
                สายการบังคับบัญชานั้นถือตามแบบฉบับของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต  ก๊กมินตั๋งยึดถือหลักการที่เรียกว่า  ประชาธิปไตยบงการ  ซึ่งหมายความว่า  สมาชิกของพรรคที่จะออกความเห็นและถกเถียงปัญหาใด ๆ ของพรรคได้  แต่เมื่อพรรคใดลงมติเป็นประการใดในปัญหานั้นแล้ว  สมาชิกทุกคนในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม  โครงร่างของพรรคซึ่งได้รับความเป็นชอบจากคณะกรรมการกลางในเดือนกันยายน  ๑๙๔๗   นั้น   ได้ให้ความหมายหลักประชาธิปไตยบงการว่า  เจ้าหน้าที่ทุกระดับจะต้องได้รับการเลือกตั้งตามกรรมวิธีการที่เป็นประชาธิปไตย  ฝ่ายข้างน้อยจะต้องเคารพฝ่ายข้างมาก  หัวหน้าจะต้องเป็นผู้นำพรรคทั้งหมด เจ้าหน้าที่ชั้นต่ำกว่าจะต้องเชื่อฟังเจ้าหน้าที่ชั้นสูงกว่า  องค์การที่มีอยู่ในทุก ๆ ระดับจะต้องเสนอรายงานต่อสมาชิกของตนเป็นประจำ  สมาชิกเหล่านั้นจะต้องตำหนิติชมงานอย่างละเอียดลออ และอยู่ในฐานะที่จะเปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ซึงกันและกันอย่างเปิดเผย
                ดังนั้นจะเห็นว่าผู้นำของพรรคได้แก่คณะกรรมการกลาง ( Centeal Committee )  หรือ คณะกรรมการสามัญ( Standing Committee )    ของคณะกรรมการกลางในกรณีก่อนปี  ๑๙๓๘   และหัวหน้าพรรคภายหลังจากนั้นมีอภิสิทธิ์ใช้อำนาจเต็มในการนำ  และวางระเบียบให้แก่องค์การของพรรคและสมาชิกของพรรค   เนื่องจากคณะกรรมการพรรคดังกล่าวก็ดี หัวหน้าพรรคก็ดี  ได้รับการเลือกตั้งมาอย่าง  ประชาธิปไตย เขาย่อมอ้างว่าอำนาจสูงสุดของเขามาจากเจตนารมณ์ของสมาชิกพรรค
                อย่างไรก็ตาม  ในทางปฏิบัติที่แล้วมา  คำว่า ประชาธิปไตย มักจะไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่ากับคำว่า บงการ  คณะกรรมการบริหารของพรรคในส่วนจังหวัดนั้น ส่วนมากได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารส่วนกลาง  แทนที่จะได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมของพรรคในส่วนจังหวัดตามทฤษฎี ดังนั้น  ใครก็ตามสามารถควบคุมองค์การพรรคส่วนกลางได้ย่อมสามารถควบคุมพรรคได้
                สมาชิกของพรรค  ตัวเลขจำนวนของสมาชิกของพรรคนั้นไม่เคยปรากฏที่แน่นอน  ทั้งนี้เพราะเนื่องด้วยลักษณะพิเศษของพรรคภายหลังการจัดระเบียบพรรคใหม่เล็กน้อย  พรรคถือว้าทหารทั้งหมดที่สังกัดกองทัพก่อนการปฏิวัติเป็นสมาชิกของพรรคโดยอัตโนมัติ  กองทัพก่อนการปฏิวัตินั้นมีจำนวนเปลี่ยนไปเสมอ  การรับสมาชิกเพิ่มขึ้นใหม่และการพยายามแทรกเพิ่มจำนวนทหารอาจจะไม่เกินกว่าจำนวนสมาชิกที่ถูกขับไล่ออกจากพรรคมากเท่าไรนัก  เพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นซ้ายจัดและขวาจัด  แต่ถ้าเพิ่มจำนวนสมาชิกของ     ยุวสมาคมลัทธิไตรราษฎร์ ( San-Min-Chu-I Youth Corps)  ซึ่งมีอายุอยู่ในระหว่าง ๑๙๓๙ ถึง ๑๙๔๗  และอ้างว่ามีจำนวนสมาชิกถึง ๓,๐๐๐,๐๐๐ คนในปี๑๙๔๕ แล้ว  นับว่าจำนวนสมาชิกของพรรคได้เพิ่มขึ้นตามลำดับการรับบุคคลเป็นสมาชิกของพรรคนั้น  มีกฎเกณฑ์เช่นเดียวกับพรรคการเมืองที่ก้าวหน้าของประเทศอื่น ๆ วิธีการรับสมาชิกของชนชั้นพ่อค้าและกรรมกรคือ ในขั้นแรกพรรคจะจัดตั้งสหพันธ์พ่อค้าหรือสหพันธ์กรรมกรแล้วแต่กรณี  หรือพยายามแทรกเข้าไปควบคุมกิจการของสหพันธ์ในกรณีที่สหพันธ์ได้จัดตั้งอยู่ก่อนแล้ว  เมื่อเห็นสมควรแล้วพรรคจะออกคำสั่ง  หรือใช้วิธีชักจูงสมาชิกของสหพันธ์นั้น ๆ บางส่วนหรือทั้งหมดสมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรค  เทคนิคเช่นเดียวกันนี้ได้นำไปใช้กับในสังคมกสิกร  ผิดกันแต่ว่าพรรคไม่สามารถหาเสียงสนับสนุนจากกสิกรได้มาก  สมาชิกของพรรคที่รับเข้าใหม่  ที่สำคัญมาจากนักเรียนที่จบจากโรงเรียนชั้นมัธยมและมหาวิทยาลัย  ผู้ซึงภายหลังที่ออกจากโรงเรียนหรือมหาลัยแล้วก็เข้ารับราชการในกระทรวง ทบวง กรม ของรัฐบาล  หรือเป็นลูกจ้างขององค์การบริหารของพรรค  อย่างไรก็ตาม  ปรากฏว่าในระยะหลัง ๆ พวกนี้ขาดความเลื่อมใสในพรรคและสมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรคน้อยลงตามลำดับ  แต่ก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มที่มากที่สุดในจำนวนสมาชิกที่เข้ารับใหม่  ถ้าจะแบ่งชั้นตามประเพณีนิยมของจีน  คือ  ผู้มีคุณวุฒิในด้านความรู้กสิกร  พ่อค้า และศิลปิน  ทั้งนี้ไม่รวมกลุ่มทหาร
                หัวหน้าพรรค  สำหรับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบของพรรค  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งสูง ๆ นั้น  ส่วนมากเป็นสมาชิกเก่าที่สมัครใจเข้าร่วมก็การปฏิวัติตำแหน่งสูงสุดของพรรคนั้นเมื่อครั้งซุนยังมีชีวิตอยู่  เขาย่อมได้รับการยกย่องว่าเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ตลอดเวลา  เขารับได้ขนานนามว่าเป็นผู้จัดการ(จุ่งหลี่)  นั่นคือประธานของสมาคมบูรณะจีน(ซิงจุงหุ้ย) สมาคมสหชน(ถุงเหมิงหุ้ย) พรรคปฏิวัติจีน (จุงกว๋อ  เก๋อมิ่นตั่ง) และพรรคประชาชนแห่งประเทศจีน(จุงกว๋อกว๋อหมินตั่ง) หลังจากซุนถึงแก่กรรมแล้ว  ที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ ๒ ของพรรคได้มีมติรักษาตำแหน่งประธานของพรรคไว้ให้แก่ซุนตลอดกาล  เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งพรรค  และให้อำนาจหน้าที่ของประธานพรรคตกอยู่แก่คณะกรรมการบริหารส่วนกลางของพรรค
                ชื่อเรียกของหัวหน้าพรรคจะมีประการใดก็ตาม  บุคคลที่กุมอำนาจของพรรคที่แท้จริงภายหลังการถึงแก่สัญกรรมของซุนยัดเซ็นได้แก่เจียงไคเช็ค  หนุนด้วยลูกศิษย์ซึ่งเป็นนายทหารที่จบจากโรงเรียนที่สร้างขึ้นโดยความช่วยเหลือของศัตรู คือ โซเวียต เจียงสามารถกำจัดฝ่ายซ้ายนำโดยวางจิงวุ่ย  และฝ่ายขวานำโดย หู ฮั่นหมิน  ออกไปจากตำแหน่งผู้สืบทายาทขิงซุน  ต่อมาในปี ๑๙๓๘  สถานการณ์ทางการเมืองของจีนได้เปลี่ยนแปลงไป  สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเริ่มขึ้นแล้ว  ได้มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคโดยกำหนดให้มีตำแหน่งผู้อำนวยการ(จุ่งไฉ) หรือประธานของพรรคขึ้นอีกตำแหน่ง สำหรับให้เจียงไคเช็ค
                ก๊กมินตั๋งยังคงบวงสรวงวิญญาณของซุน  ด้วยการประกาศว่า  ตำแหน่งความเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของพรรคไม่มีการเปลี่ยนแปลงไคเช็คให้อำนาจสูงสุดแทนเท่านั้น  อาจเป็นโชคของซุนที่ได้ถึงแก่กรรมเสียเร็ววัน  เพราะเจียงไม่สนที่จะแข่งวาสนากับสิ่งที่ไม่มีตัวตนและไม่สามารถใช้อำนาจได้  ตั้งแต่พรรคได้สร้างตำแหน่งผู้อำนวยการพรรคเป็นต้นมา  ทฤษฎีที่ว่าอำนาจสูงสุดของพรรคตกอยู่แก่ที่ประชุมใหญ่ของพรรคในสมัยที่มีการประชุม  และคณะกรรมการบริหารส่วนกลางในกรณีที่พรรคไม่ได้อยู่ในสมัยประชุมนั้น  ก็ขาดความศักดิ์สิทธิ์ไป  ทั้งนี้ผู้อำนวยการพรรคมีอำนาจสมบูรณ์ในการที่จะโต้แย้งมติของคณะกรรมการบริหารส่วนกลางของพรรค  เขาอาจเสนอมตินั้น ๆ ให้มีประชุมใหญ่พิจารณายกเลิกหรือแก้ไขใหม่ได้เจียงยังไปนั่งเป็นประธานกรรมการกลางประจำของคณะกรรมการบริหารส่วนกลาง  เจียงได้รับอำนาจอย่างเต็มที่  ตั้งแต่ปี ๑๙๓๘ เป็นต้นมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น