วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเติบโตในอัตราสูงของจีนมีความหมายอย่างไร

              การมองจีนคงจะ ต้องมองในลักษณะพลวัตอย่างวิเคราะห์ ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างสลับซับซ้อน เราไม่อาจตีความจากสถิติแบบสุดโต่งอย่างง่าย ๆ ได้ เช่น ประเด็นที่จีนมีอัตราการเจริญเติบโตของ GDP ในระดับสูงราว 10% ในสองทศวรรษที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง  และยังคงโตได้อย่างน้อยปีละ 7% ต่อไป แม้ในยามเศรษฐกิจโลกเกิดวิกฤติถดถอยนั้น  ไม่ได้แปลว่าจีนจะมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งทุกด้านโดยไม่มีทางสะดุด ได้เลย เราคงจะต้องประเมินฐานะทางเศรษฐกิจของจีนจากหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน และต้องมองสถิติการเติบโตของ GDP จีน อย่างวิพากษ์วิจารณ์  เพราะว่า
1.             สถิติการเติบโตของ GDP ของจีนมาจากหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งความดีความชอบขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ มีความเป็นไปได้ว่าสถิติที่รายงานอาจสูงเกินความจริงอยู่บ้าง
2.             จีนเริ่มจากฐาน GDP ที่ต่ำเนื่องจากค่าครองชีพต่ำ มูลค่าสินค้าต่ำ เมื่อสินค้าขยับราคาสูงขึ้น คืออัตราเงินเฟ้อสูง มูลค่า GDP ก็ต้องเพิ่มสูงตามไปด้วย
3.             การที่จีนกำลังเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ จากระบบวางแผนจากส่วนกลางให้เป็นระบบตลาดเพิ่มขึ้น เช่น การขายรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ, การที่คนจีนจะต้องผ่อนซื้อบ้านที่ตนเคยเช่าจากรัฐได้ในราคาถูกมาก, การเปลี่ยนจากระบบเกษตรเพื่อกินเป็นเกษตรเพื่อขาย จะทำให้สินค้าเพิ่มราคา  ค่าจ้างแรงงานต้องปรับสูง, มีการซื้อขายมากขึ้น มูลค่า GDP ก็ต้องเพิ่มขึ้นตามตัว  ทั้ง ๆ ที่คนจีนก็อยู่บ้านเดิม  การกินอยู่ก็อาจจะไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก
4.             GDP ที่เพิ่มอัตราสูงนั้นส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรม การค้า การบริการในเมือง โดยเฉพาะมณฑลฝั่งตะวันออกและภาคใต้ ภาคเกษตรเติบโตช้ากว่าภาคอื่นมากในช่วง 5-10 ปีหลัง คนว่างงานในชนบทมาก  คน  62 %  ยังอยู่ในชนบท  แรงงาน 50% อยู่ภาคเกษตร
5.             มีรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน ที่อาจต้องยุบทิ้งจำนวนมาก ธนาคารของรัฐก็ปล่อยหนี้เสีย 30-40% ที่อาจเป็นปัจจัยลบให้มูลค่า GDP ในช่วงต่อไปชลอตัวลงได้ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในรุสเซีย และยุโรปตะวันออกมาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น