วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การแข่งขันภายในก๊กมินตั๋ง

ภายหลังซุนถึงแก่กรรมไม่นาน  คือในเดือนกรกฎาคม  ก๊กมินตั๋งที่เมืองกวางตุ้งได้จัดตั้ง  รัฐบาลประชาชน    ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการที่ประกอบสมาชิก   ๑๖   คน   สมาชิกเหล่านี้ได้รับเลือกตั้งจากคณะกรรมการของก๊กมินตั๋งวางจิงวุ่ยผู้มีหัวเอียงซ้ายและสมาชิกดงเดิมของคณะปฏิวัติ   ได้รับเลือกเป็นประธานของคณะกรรมการรัฐบาลประชาชน
                การแตกแยกได้ปรากฏออกมาอย่างเปิดเผย  เมื่อสมาชิกคณะกรรมการกลางของพรรคสังกัด  ปีกขวา   ได้นัดพบกันที่เนินตะวันตกนั้นดีเขียนโปรแกรมพรรคขึ้นใหม่โดยพลการ เรียกร้องให้พรรคปลดที่ปรึกษาชาวรุสเซีย และขับไล่คอมมิวนิสต์ออกไปจากพรรค การที่เขาเลือกเอาสถานที่นี้ ก็เพราะที่นั่นเป็นสถานที่ดองศพของซุนยัดเซ็น ปัญหาการแตกแยกในครั้งนี้เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลเมืองกวางตุ้งเรียกประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ ๒
                ที่ประชุมใหญ่ของพรรคที่จัดให้มีขึ้นครั้งที่ ๒  ตั้งแต่วันที่     มกราคม    ถึงวันที่  ๒๐ มกราคม  ๑๙๒๖  นั้น   ได้ออกประกาศคำขวัญมีความว่า  พรรคจะ  กระตุ้นเตือนมวลชนและจะร่วมสัมพันธมิตรกับทุกประเทศในโลก   ที่ให้การปฏิบัติต่อจีนในฐานะเท่าเทียมกันในการต่อสู้ร่วมกัน    เพื่อที่จะให้บรรลุจุดหมายของการปฏิวัติที่ลิขิตไว้ในคำสั่งเสียของอดีตประธานาธิบดีที่ประชุมได้มีมติประณามขบวนการ    เนินเขาตะวันตก     และหัวหน้าขบวนการนี้ถูกขับไล่ออกจากพรรค   ชัยชนะจึงตกมาอยู่แก่ปีกซ้าย
                คอมมิวนิสต์ได้ขยายอำนาจของตนอย่างรวดเร็ว   ในพรรคก๊กมินตั๋ง    ความสำคัญของพวกคอมมิวนิสต์อยู่ที่ความเชื่อมั่นในอุดมการณ์   และวิธีการจัดระเบียบองค์การอันแยบคายมากกว่าจำนวนของสมาชิก    สำหรับจำนวนของสมาชิกนั้น   พรรคคอมมิวนิสต์ มีสมาชิก ๓๐๐  คน  ในปี  ๑๙๒๒  ในขณะที่ก๊กมินตั๋งมีถึง   ๑๕๐,๐๐๐   คน   ในปี  ๑๙๒๕   พรรคคอมมิวนิสต์เพิ่มสมาชิกขึ้นเป็น  ๑,๕๐๐  คน  แต่ในคณะกรรมการกลางของก๊กมินตั๋ง   ซึ่งเพิ่มจำนวนจาก  ๒๔   เป็น  ๓๖ คนนั้นเป็นคอมมิวนิสต์เสีย    คน   และ  ๓ คน   ในจำนวนนั้นได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการสามัญ   ยิ่งกว่านั้นคอมมิวนิสต์ควบคุมแผนกที่สำคัญ    แผนก  คือ  แผนกกสิกร  ซึ่งมีหลินจู่หัน  ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนก  และแผนกจักระบบองค์กร  ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ  ๒๙  คนนั้น เป็นคอมมิวนิสต์เสียถึง ๒๖  คน  ภายใต้การนำของถันฝิงซัน
                ในขณะที่การขัดแย้งระหว่าง   ปีกซ้าย กับ ปีกขวา    ดำเนินอยู่นั้น   เจียงไคเช็คซุ่มตัวสร้างบารมี    โรงเรียนนายทหารหวงผู่  โดยไม่แสดงท่าทีจะเข้าข้างฝ่ายใด  ในไม่ช้า  เขากลายเป็นนายทหารที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการทหารของคณะปฏิวัติ  ภายหลังซุนถึงแก่อสัญกรรมไม่นาน   เขาเริ่มเห็นความขัดแย้งกับที่ปรึกษาชาวรุสเซียเกี่ยวกับการยาตราทัพเข้าปราบปรามฝ่ายเหนือ เขาใจร้อนอยากคุมทหารจากเมืองกวางตุ้งไปปราบปรามขุนศึกอื่น  เพื่อรวบรวมประเทศจีนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว
                บทบาทขั้นแรกของเจียงไคเช็คก็คือ  การรวบรวมอำนาจมาอยู่ในกำมือของเขาในวันที่  ๒๐  มีนาคม  ๑๙๒๖  เข้าได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลวางจิงวุยแล้วประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองกวางตุ้ง   โดยยกเอาเรื่องคอมมิวนิสต์วางแผนยึดอำนาจขึ้นเป็นข้ออ้าง  เจียงได้ใช้อำนาจการทหารสั่งจับสมาชิกก๊กมินตั๋งสังกัด  ปีกซ้าย  และคอมมิวนิสต์เป็นอันมาก ในขณะที่โบโรดินกำลังเข้าพบปะเจรจากับเฝิ่งยู่เสียง  เกี่ยวกับปัญหาการโจมตีปักกิ่งร่วมกันนั้น เจียงได้สั่งปลดและสั่งที่ปรึกษารุสเซียกลับบ้านหลายคน   อย่างไรก็ตาม เจียงยังไม่กลาฝ่าฝืนเจตจำนงของซุนซึ่งหนักเกินไป   ในวันที่     เมษายน  เขาได้ออกแถลงคำประกาศยืนยันสนับสนุนสัมพันธมิตรระหว่างรุสเซียกับก๊กมินตั๋ง  ในวันต่อมาเขาส่งโทรเลขเวียนกล่าวหาการประชุมครั้งที่    ที่จัดขึ้นกรุงเซี่ยงไฮโดยกลุ่ม  เนินเขาตะวันตก  เขากล่าวว่าเรื่องการร่วมมือระหว่างก๊กมินตั๋ง  ปีกขวา  กับ  นักจักรวรรดินิยม  และเมื่อปีกขวา วางแผนนัดเดินขบวนที่เมืองกวางตุ้ง  เขาปลดสมาชิกที่สงสัยว่าสังกัดอยู่  ปีกขวา ออกจากพรรค   ในวันที่ ๑๖  เมษายน    โรงเรียนนายทหารหวงผู่  เจียงให้ความเห็นว่าการปฏิวัติของจีนแต่เดิมมามีความสัมพันธ์กับการปฏิวัติของโลก  ดังนั้นก๊กมินตั๋งจะต้องรับความช่วยเหลือจากองค์การคอมมิวนิสต์สากล  ปลายเดือนเมษายน  โบโรดิน  กลับจากเจรจาทางเหนือ   ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับเจียงดีขึ้น  ถามิใช่เพราะเจียงต้องการสร้างศูนย์ใหม่ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างปีกซ้ายและปีกขวา 
                การแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ในพรรคก๊กมินตั๋งถูกเจียงวางเงื่อนไขจำกัดไว้อีกหลายประการในเดือนพฤษภาคม  แม้คอมมิวนิสต์ดิ้นรนต่อสู้  แต่ก็อ่อนด้วยอำนาจทหารและขาดการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์รุสเซีย  โบโรดินชมเชยการกระทำของเจียงที่มีต่อพวกที่  ซ้ายจัดเกินไป  คอมมิวนิสต์จีนเสนอไปมอสโก  ให้แก้ไขความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และก๊กมินตั๋งเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะพรรคผสม  แต่สตาลินผู้ซึ่งกำลังเรืองอำนาจขึ้นมาเป็นผู้นำในกรุงเครมลิน  กลับสั่งให้คอมมิวนิสต์จีนใช้ความพยายามต่อไป    ในการชักจูงสมาชิกของพรรคก๊กมินตั๋งทั้งหมดให้หันไปทางซ้ายและประกันนโยบายเอียงซ้ายไว้คงที่     นโยบายของสตาลินนั้นถือเอาการปฏิวัติ ๒    ขั้นมาใช้  การปฏิวัติขั้นแรก   เป็นที่ทราบกันว่าสตาลินและโบโรดินยังไม่สิ้นหวังที่จะควบคุมก๊กมินตั๋ง  แม้เจียงได้แสดงปฏิกิริยาต่อต้านคอมมิวนิสต์ก็ตาม  หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีนเฉินตู่ซิ่วกลับมีความเห็นว่าก๊กมินตั๋งถูกยึดอำนาจโดยขุนศึกคนใหม่  ความเห็นของเขาตรงกับทฤษฎีของเลอัน   ทรอตสกี้ ซึ่งแตกต่างกันกับของสตาลินเกี่ยวกับปัญหาจีน
                ภายหลังการตายของเลนิน   ในปี  ๑๙๒๔   ปัญหาการปฏิวัติของจีนได้กลายเป็นเนื้อหาของความขัดแย้งกันระหว่างชนชั้นปกครองรุ่นใหม่และนักก่อการปฏิวัติดังเดิมของรุสเซีย การขัดแย้งกันได้คงอยู่จนกระทั่งทรอตสกี้ถูกขับจากพรรคปี ๑๙๒๗  ทรอตสกี้กับพวกซีโนเวียต
และคาเมเนฟ  เตือนว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนอาจจะถูกทำลายโดยปฏิกิริยาอภิสิทธิ์ชนชั้นกลาง  ผู้ซึ่งจะทำความตกลงประนีประนอมกันกับจักรวรรดินิยม  และหันหลังให้แก่มวลชน    เขาเชื่อว่าหลักการของเขานั้นจะนำมาปฏิบัติกับประเทศจีนได้  ถ้าหากชนชั้นกรรมกรในย่านชุมชนทอดทิ้งอภิสิทธิ์ชนชั้นกลาง  และสร้างลำข้อของตนเองด้วยการจัดตั้งโซเวียตที่เซี่ยงไฮ้และกวางตุ้งและโดยการขยายขบวนการกสิกรต่อต้านราชาที่ดิน  เขาจะตั้งต้นสร้างเศรษฐกิจ  และสถาบันในทางการเมืองของประเทศได้โดยตั้งอยู่บนรากฐานของการถือกรรมสิทธิ์รวมเป็นวิธีการของการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น