วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อสัญกรรมของซุนยัดเซ็น

จนกระทั้งบั้นปลายชีวิตของซุน เขายังหวังเสมอว่าประเทศจีนยังมีทางที่รวบรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยปราศจากสงครามการเมืองที่อาจจะยืดเยื้อเป็นเวลานานที่เขาได้แสวงหาพันธมิตรกับขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง ๒ ทางเหนือ คือจังจว้อหลินและตวนฉียุ่ยเพื่อต่อต้านอู๋เพ่ยฟู ในเดือนตุลาคม ๑๙๒๔ เมื่อเฝิ่งทำการรัฐประหารขับไล่อู๋ออกไปจากกรุงปักกิ่งแล้วจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพวกจัง ตวน กับเฝิงแล้ว รัฐบาลปักกิ่งได้สอดส่องเห็นความรุ่งเรืองของก๊กมินตั๋งทางใต้ที่น่าเกรงขาม จึงได้ขอความร่วมมือจากซุนให้ช่วยกันจัดตั้งประเทศจีนให้อยู่ภายใต้รัฐบาลอันหนึ่งอันเดียวกัน สมาชิกของก๊กมินตั๋ง มีความเห็นแตกแยกกันเกี่ยวกับปัญหาที่ว่า พรรคสมควรจะเจรจาความตกลงกับขุนศึกทางเหนือตามข้อเสนอนั้นหรือไม่ ในที่สุดซุนเห็นด้วยกับพวกจารีตนิยม ที่เสนอแนะให้ตกลงรับคำเชิญของขุนศึกทางเหนือ แต่ซุนคงมีความมุ่งหมายในการโฆษณาเผยแพร่อุดมการณ์ของพรรค และกำจัดการขยายตัวของขุนศึกและลัทธิจักรวรรดินิยมมากกว่าความหวังที่จะตกลงปัญหาประนีประนอมกันดังพวกจารีตนิยมคาดหมาย เมื่อซุนเดินทางมาถึงกรุงปักกิ่งในวันที่ ๓๑ ธันวาคมนั้น ปรากฏว่าพวกขุนศึกทางเหนือได้สร้างสูตรอันมีลักษณะที่ซุนยัดเซ็นไม่อาจยอมรับได้

ซุนได้ล้มป่วยเข้าโรงพยาบาลอย่างะทันหัน ในวันที่ ๒๖ มกราคม ๑๙๒๕ โดยโรคมะเร็งที่ตับเข้าได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๑๙๒๕ งานชิ้นสุกท้ายบนเตียงนอนก่อนตายของซุนก็คือ ส่งสาส์นไปยังรัฐบาลโซเวียตขอให้ช่วยเหลือการปฏิวัติของเขาต่อไป สตาลินส่งโทรเลขตอบยืนยันที่จะทำตามคำขอร้องของซุน ในขณะเดียวกัน ซีโนเวียบ ได้โทรเลขในฐานะตัวแทนขององค์กาคอมมิวนิสต์สากล ให้คำยืนยันแก่ก๊กมินตั๋งเช่นเดียวกับสลาติน งานอีกประการหนึ่งซึ่งถือกันว่ามีผลสำคัญต่อประชาชนชาวจีนด้านจิตวิทยา ก็คือ คำสั่งเสียก่อนถึงอสัญกรรมของเขา ซึ่งได้เขียนขึ้นในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๑๙๒๕ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเครื่องเตือนสูติลูกพรรคเป็นอย่างดี นอกจากนั้นข้อความสั้น ๆ ยังได้ถูกนำไปเขียนติดกรอบแขวนไว้ในหอประชุมโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อใช้อ่านเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการเปิดประชุม โดยเหตุว่าชาวจีนเป็นคนที่มีความนิยมบูชาวิญญาณผู้ตายเป็นพิเศษ คำสั่งเสียของซุนจึงมีความขลังมาก

พินัยกรรมคำสั่งเสียของ ดร.ซุนยัดเซ็น มีดังนี้

“ นับเป็นเวลา ๔๐ ปี ที่ข้าพเจ้าได้อุทิศเวลาเพื่อการปฏิวัติของประชาชน ด้วยน้ำใจอันแน่วแน่ที่ยกฐานะของประเทศจีนให้มีเสรีภาพและความเสมอภาค จากประสบการณ์ ๔๐ ปี ที่ล่วงแล้วมาทำให้ข้าพเจ้าตระหนักดีว่า การที่บรรลุถึงจุดหมายดังกล่าวนั้น เราจะต้องปลุกมวลชนและผูกมิตรกับประชาชนทั่วโลกที่ถือว่า เรามีฐานะเท่าเทียมกัน สามัคคีต่อสู้ร่วมกัน
บัดนี้งานปฏิวัติยังไม่บรรลุผลสมความมุ่งหมาย ขอให้สหายร่วมอุดมการณ์ของข้าพเจ้าจึงยึดถือ (หลักการ) ที่ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ในแผนการสร้างชาติ โครงการสร้างชาติไตรราษฎร์และคำขวัญที่ออกในนามของที่ประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่หนึ่ง ขอจงได้พยายามต่องานของเราให้ถึงจุดหมาย ตามที่ได้มุ่งหมายที่จะเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและยกเลิกสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมต่าง ๆ นั้นขอให้เร่งดำเนินการให้สำเร็จภายในระยะสั้นที่สุด นี่แหละเป็นคำฝากลาของข้าพเจ้า”

เขียนวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๑๙๒๕
ซุนหวุน ๑๑ มีนาคม ๑๙๒๐

ซุนได้กลายเป็นวีรบุรุษดังเทพนิยาย และเทพเจ้าผู้คุ้มครองพรรคก๊กมินตั๋งไปทันทีหลังจากการอาสัญกรรม นายลายอัน ชาร์แมน ได้เขียนว่า ซุนได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ สัญลักษณ์แห้งงความสามัคคีของก๊กมินตั๋ง สัญลักษณ์แห่งความรักชาติ อันปราศจากความเห็นแก่ตัว สัญลักษณ์แห่งความเจตจำนงของเขาในการที่จะก่อสร้างประเทศจีนให้ทันสมัยตามแบบฉบับของประเทศตะวันตก สัญลักษณ์แห่งการปฏิวัติปราศจากความเห็นแก่ตัว และสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์ประชาธิปไตย

ลัทธิไตรราษฎร์ (ซันหมิงจู่อี้) ของเขากลายเป็นคำภรีย์ของก๊กมินตั๋ง มีปัญหาว่าซุนเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ คอมมิวนิสต์จีนก็พยายามตีความว่าเขาเป็นคอมมิวนิสต์ พวกต่อต้านคอมมิวนิสต์ ก็พยายามโต้แย้งปฏิเสธ ผลงานของเขายากแก่การตัดสินให้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคำขวัญการประชุมใหญ่ของก๊กมินตั๋งครั้งนั้น ซุนได้เปลี่ยนแปลงความคิดดังเดิมเกี่ยวกับลัทธิไตรราษฎร์ไปมาก หลังการเอกราชแห่งชาติ ได้ขยายการต่อต้านแมนจูเป็นการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม และต่อต้านลัทธินิยมทหารในหลักการความยุติธรรมในการครองชีพนั้น คำขวัญได้ย้ำหลักการจัดสรรที่ดินให้เท่าเทียมกัน และการจัดระเบียบในเรื่องทุน ข้อที่มีการโต้เถียงมากที่สุดคือหลักความยุติธรรมในการครองชีพ

อย่างไรก็ตาม ซุนมีคามภูมิใจว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์หรือลัทธิอื่นใดในโลกไม่วิเศษไปกว่าลัทธิไตรราษฎร์ของตน ในการที่จะนำมาปฏิบัติในประเทศจีน ซุนไม่ใช่คอมมิวนิสต์สมบูรณ์ดังที่คอมมิวนิสต์แอบอ้าง เพราะประการแรกการติดต่อกับสหภาพโซเวียต มิใช่เป็นความริเริ่มของตนอันเกิดจากความเลื่อมใสลิทธิคอมมิวนิสต์แต่ประการใด แต่เป็นการริเริ่มของตัวแทนคอมมิวนิสต์รุสเซีย และเมื่อมาริงเสนอแนะให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าร่วมกับก๊กมินตั๋งนั้น ซุนยอมรับอย่างมีเงือนไขการขอความช่วยเหลือจากรุสเซียเป็นเพราะซุนไม่มีที่พึ่งใด ซุนขอความช่วยเหลือจากมหาอำนาจตะวันตก แต่มหาอำนาจตะวันตกรับรองและให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลศัตรูของเขาที่ปักกิ่ง และเมื่อลัทธิชาตินิยมแพร่หลายในพรรค มหาอำนาจตะวันตกต่างขวัญเสียไปตาม ๆ กัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การที่ซุนรับความช่วยเหลือจากรุสเซียนั้นเป็นเรื่องความมีหัวโอนเอียงไปในทางอรรถประโยชน์มากกว่า ความนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ประการที่ ๒ ซุนไม่เคยมีความปรารถนาที่จะให้ลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาสอนสมาชิกของพรรค ประการที่ ๓ เขาสนับสนุนการร่วมมือระหว่างชนชั้นต่าง ๆ มากกว่าการต่อสู้ระหว่างชนชั้นดังคำสอนของคอมมิวนิสต์ เขายอมรับองค์การพรรคการเมืองแบบพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซีย แต่พรรคการเมืองของเขามิได้เป็นตัวแทนของชนชั้นใดชั้นหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นตัวแทนของประชาชนจีนทั่วไป ครั้งหนึ่งเขาเคยกล่าวว่า “ในประเทศจีนไม่มีการขัดแย้งกันระหว่างชนชั้น” อย่างไรก็ตาม ซุนมิได้เป็นศัตรูของคอมมิวนิสต์ดังที่ก๊กมินตั๋งฝ่ายขวาพยายามตีความ เข้ามีความคิดตรงกับคอมมิวนิสต์หลายประการ และเขาไม่เคยกลัวว่าเขาจะเป็นคอมมิวนิสต์ นั่นคือเขาเป็นตัวของเขาเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น