วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำไมจีนจึงประสบความสำเร็จ

              แม้จะมีบางคนมี ข้อสงสัยว่า สถิติทางราชการของจีนอาจจะรายงานสูงเกินความจริงหรือไม่ แต่นักวิเคราะห์จากหลายสำนักที่ศึกษาเรื่องจีนอย่างใกล้ชิด ได้ตรวจสอบข้อมูลจากหลายทาง และเชื่อว่าสถิติทางเศรษฐกิจของจีน น่าจะใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่า สถิติก่อนปี ศ.ศ 1978 บางคนยังมองว่า จีนยังมีเศรษฐกิจใต้ดิน , เศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่รวมอยู่ในสถิติทางการอีกจำนวนมากด้วยซ้ำ การที่จีน ปฏิรูปเศรษฐกิจ จากระบบวางแผนจากส่วนกลางเป็นระบบตลาดอย่างได้ผลดีกว่ารัสเชียและยุโรปตะวัน ออก มาจากหลายปัจจัย เช่น ก่อนหน้าที่จะปฏิรูป การวางแผนจากส่วนกลางของจีนยังไม่เข้มงวดมากนัก , คนจีนมีวัฒนธรรมของผู้ประกอบการมานาน และจีนมีการกระจายการบริหารไปสู่ท้องถิ่นอยู่ในระดับหนึ่ง ขณะที่การพัฒนาอุตสาหกรรมก็ยังมีไม่มาก
                นอกจากนี้การเปลี่ยนถ่ายผู้นำของจีน ก็เป็นไปอย่างต่อเนื่องราบรื่น ผู้นำ  ตั้งแต่เติ้งเสี่ยวผิง เป็นพวกนักปฏิบัตินิยมและใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มีความยืดหยุ่นสูง จีนเติบโตแบบ ค่อยเป็นค่อยไปจากการลองถูกลองผิด เริ่มต้น ด้วยการปฏิรูปการเกษตรที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสถาบัน โดยการเลิกระบบการผลิตแบบคอมมูนมาเป็นระบบผู้ประกอบการรายย่อย ให้แต่ละครัวเรือนรับผิดชอบตนเองเพิ่มขึ้น เกษตรกรทำเองขายเองในตลาดได้ ทำให้พวกเขามีแรงจูงใจที่จะผลิตเพิ่ม ผลผลิตการเกษตรและรายได้ในชนบทจีนเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว นำไปสู่การขยายตัวของอุตสาหกรรม ระดับเมืองและชุมชน ซึ่งรัฐบาลกระจายอำนาจให้ผู้นำท้องถิ่นบริหารอย่างอิสระเพิ่มขึ้น เกิดการสร้างงานใหม่ มีสินค้าอุปโภคบริโภคราคาต่ำ มาสนองความต้องการของคนได้เพิ่มขึ้น และทำให้เศรษฐกิจภูมิภาคเติบโต ในปลายศวรรษ 1990      อุตสาหกรรมระดับเมืองและชุมชน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ตั้งไว้และส่วนใหญ่ได้รับการแปรรูปให้ดำเนินการแบบ เอกชนในเวลาต่อมา
              ถ้าเทียบกับรัสเซียคือ จีนปฏิรูปเศรษฐกิจจากฐานล่างก่อน และ ปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ     มหภาคและการเมืองการบริหารทีหลัง ความสำเร็จของการปฏิรูปเศรษฐกิจจากฐานล่าง ทำให้มีการปรับปฏิรูปผู้บริหารระดับต่างๆ ได้ โดยยึดหลักความสามารถ ในการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัด อย่างสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การขยายตัวของเศรษฐกิจภาคเอกชน หรือการบริหารแบบเอกชนตามกลไกตลาด ทำให้เศรษฐกิจภาครัฐลดความสำคัญลงตามสำดับ ตอนเติ้งเสี่ยวผิง คิดปฏิรูปทางเศรษฐกิจ ในปลายทศวรรษ 1970       รัฐวิสาหกิจ มีสัดส่วนถึง 70%  ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม พอปี 2000 เหลือเพียง 24% ส่วนใหญ่คือ      อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ถ้ากล่าวในแง่ หน่วยปฏิบัติงาน ในปลายปี 1994      รัฐวิสาหกิจแบบเก่ามีเพียง 9.7%  วิสาหกิจแบบรวมหมู่ (เช่น อุตสาหกรรมนครเมืองและชุมชน)  มีสัดส่วน 23.5%  ธุรกิจเอกชนและระบบครัวเรือน 21.9% วิสาหกิจแบบร่วมทุน 32.5%  และอื่น ๆ อีก 12.41%  อย่างไรก็ตาม ภาคธนาคารและสถาบันการเงินส่วนใหญ่ยังเป็นของรัฐและเป็นภาคที่มีปัญหาด้อย ประสิทธิภาพ การปล่อยหนี้เสียค่อนข้างมาก การเติบโตของเศรษฐกิจระบบตลาด ทำให้การแผนพัฒนา 5 ปี และ เศรษฐกิจภาครัฐลดความสำคัญ ลดตามลำดับ นอกจากรัฐ วิสาหกิจจะมีสัดส่วนในภาคอุตสาหกรรมลดลงดังได้กล่าวมาแล้ว ค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ที่เคยมีสัดส่วน 32% ของ GDP ในปี 1979  ก็ลดลงมาเหลือเพียง 24% ในปี 2001  ซึ่งหมายถึงการให้ความช่วยเหลือและบริการด้านการประกันสังคมก็ลดลงจากเดิม  ทำให้ภูมิภาค และประชาชนที่ยากจนได้รับความลำบากเพิ่มขึ้น  เมื่อเทียบกับที่คนชั้นกลางในภูมิภาคเศรษฐกิจพัฒนาสูง ร่ำรวยเพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น