วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ซุนยัดเซ็นกับระบอบสาธารณรัฐ

                                ขบวนการปฏิวัติได้ก่อรูปเป็นสมาคมเริ่มตั้งแต่ปี ๑๘๙๔    ก่อนหน้านั้นเป็นการยากที่จะกล่าวได้อย่างแน่ใจว่า  ซุนยัดเซ็นมีความคิดเห็นในทางดีต่อราชวงศ์แมนจู  โดยการส่งสาส์นถึง หลี่หูงจัง  ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการส่วนพระองค์ในขณะนั้น  เสนอความคิดเห็นของเขาในการสร้างกำลังและความมั่งคั่งของชาติ  ในสาส์นกล่าวด้วยว่า คนอย่างข้าพเจ้าก็อาจจะได้รับการฝึกฝนและรับเข้าไว้เป็นลูกจ้างของท่านได้  ถ้าหากหลี่หูงจังได้รับเขาไว้ทำงานในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง  ซุนอาจจะถูกย้อนจิตใจให้เป็นพวกนิยมแมนจูไปก็ได้  แต่กล่าวกันว่า  ซุนสังเกตเห็นว่าหลี่เป็นคนชราภาพและขาดความคิดริเริ่ม  ตนไม่มีความเลื่อมใสด้วยใจจริงเท่าไรนัก  ประจวบกับจีนได้ปราชัยญี่ปุ่นในสงครามจีน ญี่ปุ่น (๑๘๙๔ ๑๘๙๕)     เขาจึงผละจากจีนไปก่อตั้งสมาคมบูรณะจีน (ซิงจูงหุ้ย)  ขึ้นที่ฮอนโนลูลู ในปี ๑๘๙๔ คำขวัญของสมาคมนั้นกล่าวว่า  การคอรัปชั่นและความอ่อนแอของรัฐบาลแห่งราชวงศ์ชิง  จุดประสงค์ของการจัดตั้งสมาคมนั้นกล่าวว่า  เป็นการฟื้นฟูประเทศจีนจากรัฐบาลเสื่อมโทรมและถูกรุกรานจากต่างประเทศ  ในขณะนี้เขาได้มีการติดต่อกับสมาคมลับต่าง ๆ ในจีน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาคมสามสหาย  ซึ่งถือกันว่าเป็นสมาคมที่มีอิทธิพลที่สุดในตอนใต้ของประเทศจีนและแพร่หลายที่สุดในบรรดาชาวจีนโพ้นทะเล  และเขาได้ตั้งเข็มไปในทางก่อการปฏิวัติแล้ว  แม้ว่าสมาคมบูรณะจีนจะมีกำลังน้อย  แต่พวกเลือดร้อนที่จงรักภักดีต่อสมาคมนี้ ก็แสดงอิทธิฤทธิ์ของพวกเขาด้วยการก่อกบฏ ณ เมืองกวางตุ้ง ในปี ๑๘๙๖
                                ปรมิตตาญาสิทธิราชกับสาธารณรัฐในแดนโพ้นทะเล  ภายหลังการหนีเอาชีวิตรอดของ               เหลียงฉี่เชาและคังอิ่วหวุย  อันเป็นผลของการยึดอำนาจในกรุงปักกิ่งปี ๑๘๙๘  การแข่งขันระหว่างผู้สนับสนุนการปฏิรูป  และผู้นิยมการปฏิวัติได้ดำเนินไปอย่างเข้มข้นในดินแดนต่างประเทศ  ภายหลังการล้มเหลวของการกบฏปี ๑๘๙๕  ซุนเลือกเอาโยโกฮามาเป็นศูนย์การดำเนินงาน  เขาพยายามจะผูกมิตรกับคังและเหลียงภายหลังที่นักปฏิรูปทั้งสองได้หนีไปอยู่ในโยโกฮามาในเดือนกันยายน ปี ๑๘๙๘  แต่คนทั้งสองต้อนรับนักก่อการปฏิวัติด้วยการจัดตั้ง เป่าหวงหุ้ย (สมาคมปกป้องจักรพรรดิ) ขึ้น  สมาชิกส่วนใหญ่ของซิงจูงหุ้ยที่เป็นพ่อค้าหันไปสวามิภักดิ์ต่อเป่าหวงหุ้ย  โรงเรียนสำหรับลูกหลานของชาวจีนที่เมืองโยโกฮามาที่จัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือของซุนนั้นปิดประกาศห้ามซุนเหยียบย่างเข้าไปในโรงเรียน  ในขณะเดียวกันคังได้ส่งเหลียงไปจัดตั้งสาขาของ       เป่าหวงหุ้ยที่ฮอนโนลูลูเป็นการแข่งขันกับซิงจูงหุ้ยได้ดีเช่นเดียวกับในญี่ปุ่น
                                อย่างไรก็ตาม  เป็นการยากที่จะชี้ตัวชาวจีนโพ้นทะเลว่าเขามีความจงรักภักดีต่อสมาคมใด  กำลังของนักก่อการปฏิวัติได้ถูกตัดลงอย่างมาก  โดยการแข่งขันของพวกต้องการปฏิรูป แต่เหตุการณ์ภายในประเทศก็ชักจูงให้ชาวจีนหันมาจงรักภักดีต่อนักก่อการปฏิวัติเพิ่มขึ้นตามลำดับ  กระนั้นก็ดีซิงจูงหุ้ย        ยังไม่สามารถจัดระบบประสานงานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้  จนกระทั้งปี ๑๙๐๕ ซึ่งเป็นปีที่ซุนได้จัดตั้ง    ถุงเหมิงหุ้ย (สมาคมสันนิบาต) ขึ้นที่โตเกียว
                                ซุนยัดเซ็นกับชาวจีนโพ้นทะเล  เป็นเวลา ๑๐ ปีนับเนื่องจากการจัดตั้งซิงจูงหุ้ย จนถึงวันจัดตั้งถุงเหมิงหุ้ยในปี ๑๙๐๕ นั้น  อุดมการณ์การปฏิวัติของซุนแพร่หลายไปในหมู่ปัญญาชน  มีขอบเขตจำกัดมาก  ต่อจากนั้นไปอุดมการณ์ปฏิวัติแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วในหมู่ปัญญาชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ  ซุนได้เดินทางหาเสียงสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชีย  ยุโรป  และอเมริกา  นักเรียนจีนในต่างประเทศ          ซึ่งส่วนมากเป็นนักเรียนยอดเยี่ยมที่ได้รับการคัดเลือกส่งออกไปศึกษาต่อนั้นให้การต้อนรับซุนอย่างดีที่สุด  นักเรียนจีนในยุโรปร่วมกันบริจาคเงินให้แก่ซุนเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งในการเดินทางเพื่องานกู้ชาติ  ที่บรัสเซลส์  ซุนได้พบปะกับนักเรียนจีนกลุ่มหนึ่ง  เพื่อปรึกษาวิธีการก่อการปฏิวัติที่นั่น  และได้ทำพิธีสาบานกันว่าจะร่วมกัน ขับไล่แมนจูผู้ป่าเถื่อน  เอาประเทศจีนกลับคืนให้ชาวจีน  จัดตั้งการปกครองตามระบอบสาธารณรัฐ  และจัดสรรที่ดินให้ประชาชนได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  หลังจากนั้นซุนได้เดินทางไปเยอรมัน  อังกฤษ  และฝรั่งเศส  เขาสามารถเรียกเสียงสนับสนุนจากนักเรียนจีนในแต่ละประเทศดังกล่าวเป็นจำนวนมาก  สาขาของสมาคมซึ่งให้ชื่อว่า ถุงเหมิงหุ้ย จึงได้จัดตั้งขึ้นในประเทศดังกล่าวในยุโรป ปี ๑๙๐๕ ภายหลังกลับมาโตเกียวในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน  ซุนได้มาพบกับหวงซิงผู้มีอุดมการณ์ตรงกัน  หวงซิงได้ตั้งสมาคมของเขาชื่อหัวซิงหุ้ย (สมาคมจีนรุ่งเรือง) และได้ดำเนินการโฆษณาโดยผ่านนิตยสารของเขาชื่อถุงเหมิงหุ้ย ขึ้นในวันที่ ๙ กันยายน ๑๙๐๕  โดยให้มีสำนักงานใหญ่ที่โกกุเรียวไค (สมาคมมังกรดำของญี่ปุ่น) ในโตเกียวรัฐธรรมนูญของสมาคมได้ร่างสำเร็จ       ในวันที่ ๒๙ สมาชิกของสมาคมประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนที่มาจากทุกจังหวัดเว้นแต่จังหวัดกันสู          ซุนได้รับเลือกตั้งเป็นประธาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น