วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ก๊กมินตั๋งและรัฐบาล

                จากปีเจียงไคเช็คสามารถรวบรวมประเทศจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  จนกระทั่งการเริ่มต้นสงครามจีน – ญี่ปุ่น (๑๙๒๘ – ๒๙๓๗ )  นั้น  แม้การแตกแยกภายในดังจะได้กล่าวไปบทต่อไปนั้นยังคงดำเนินต่อไป  แต่ก๊กมินตั๋งก็ได้ตัดสินเปลี่ยนโฉมหน้าของการปฏิวัติจากเผด็จการโดยทหาร  มาเป็นการปกครองโดยพรรคการเมือง (poltical tutelage) อันเป็นตอนที่ 2  ของการปฏิวัติหลัดสูตร 3 ชั้นของซุนยัดเซ็น  ภายหลังชัยชนะ เจียงได้ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพก๊กมินตั๋งพร้อมด้วยตำแหน่งของสภาการทหาร  แต่ยังเกาะตำแหน่งฐานะผู้นำของพรรคอย่างเหนียวแน่น  เมืองหลวงได้ย้ายจากปักกิ่งมาตั้งอยู่นานกิง  ในเดือนมิถุนายน ๑๙๒๙  ศพของตำแหน่งสาธารณรัฐจีนได้รับอัญเชิญจากปักกิ่งมาเก็บรักษาไว้ในสุสานที่สร้างไว้อย่างวิจิตรพิสดาร ณ กรุงนานกิง  สถานที่อันเป็นที่เริ่มศักราชของการปกครองโดยพรรคการเมือง
                รัฐบาลพิสดารโดยแบ่งผู้ใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น 5 สาขา  และนำโดยพรรคการเมืองตามคำสอนของซุนยัดเซ็นหรือคัมภีร์ก๊กมินตั๋งนั้น  รัฐบาลที่จัดตั้งใหม่ในปี ๑๙๔๘  โดยยึดถือหลักของรัฐธรรมนูญ ที่ประกาศใช้ในวันที่ ๒๕  ธันวาคม  ๑๙๔๖ นั้น  ได้ก้าวไปอีกชั้นหนึ่งอันเป็นการยกเลิกการปกครองโดยพรรคการเมือง   และเปลี่ยนไปเป็นขั้นสุดท้ายของการปฏิวัติ  นั่นคือรัฐบาลในระบอบรัฐธรรมนูญ  การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ความจริงเป็นการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียกเพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีที่ซุนยัดเซ็นวางไว้เท่านั้น  ในการปฏิวัติไม่ว่าจะเป็นระยะเผด็จการโดยทหาร ระยะปกครองโดยพรรคการเมือง หรือระยะการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ  ฝ่ายทหารโดยการนำของเจียรไคเช็คยังคงใช้อำนาจเผด็จการเสมอมา
                การที่จะเข้าใจระบอบการปกครองของจีนภายใต้การนำของก๊กมินตั๋งได้ดีนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้พิจารณาถึงคำสอนของซุนยัดเซ็น  ซึ่งถือกันว่าเป็นคัมภีร์ของพรรคและองค์การบริหารของพรรค  ซึ่งซุนยัดเซ็นได้วางรากฐานไว้เสียก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น