วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจฟองสบู่ ของสหรัฐ และ จีน

              ขณะที่ เศรษฐกิจจีนที่โต 9.1% ในปี 2003 คือหัวรถจักรสำหรับการเจริญเติบโตในเอเชีย เศรษฐกิจสหรัฐที่โต  4%  ก็ทำหน้าที่อย่างเดียวกันสำหรับโลกอุตสาหกรรม (เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐใหญ่ที่สุดในโลก  การโต 4%  จึงมีมูลค่าสูงมาก)สหรัฐใช้จ่าย เกินตัวทั้งภาครัฐและเอกชนทำให้มีปัญหาทั้งขาดดลการค้าและขาดดุงบประมาณ   ซึ่งจะเป็นปัญหาในระยะยาว  สำหรับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกที่มีความสัมพันธ์  ทั้งทางการลงทุนและการค้า กับสหรัฐ เป็นสัดส่วนสูง ขณะนี้รัฐบาลสหรัฐมีการรับต่ำ กว่ารายจ่ายถึง 500  พันล้านดอลลาร์ และยังขาดเงินสำหรับระบบประกันสังคมอีก 47 ล้านล้านดอลลาร์  (ส่วนหนึ่งเพราะใช้ในการทำสงครามกับอัฟกานิสถานและอิรักและการทำตัวเป็น ตำรวจโลก) การขาดดุลการ ค้าของสหรัฐ  ก็สูงมากเป็นประวัติการณ์  คาดว่าหนี้ต่างประเทศของสหรัฐ     จะมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 40%  ของ GDP  ของประเทศใน 2 – 3 ปี ข้างหน้า  ซึ่งเป็นอัตราหนี้ที่สูงมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สำหรับประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สถานะการณ์เช่นนี้จะทำให้ค่าเงิน      ดอลลาร์อ่อนลงตามลำดับประเทศจีนที่ เคยมีเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตัวเองได้ เป็นสัดส่วนสูง ปัจจุบันเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างประเทศสูงมาก  จีนกลายเป็นประเทศที่สั่งเข้าน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของโลก และเตรียมจะสั่งเข้าถ่านหิน  ซึ่งจีนมีอยู่มากมายด้วย การเติบโตในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจจีนทำให้น่าห่วงว่าจะไปถึงจุด ที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบธนาคาร , พลังงาน , การจ้างงาน จะรับไม่ได้ ฯลฯ และการลงทุนมากเกินไป  จะนำไปสู่การมีผลผลิตล้นเกิน จนเศรษฐกิจฟองสบู่แตกได้
              เศรษฐกิจของ สหรัฐกับจีนในปัจจุบัน ผูกพันกันแนบแน่นเหมือนล้อคนละข้างของจักรยาน คันเดียวกัน  การที่จีนผลิตสินค้าได้ต้นทุนต่ำมาก ทำให้อุตสาหกรรมสหรัฐ (และประเทศอื่น )  ย้ายการผลิตไปจีน และคนอเมริกันได้ซื้อของถูกที่ส่งออกมาจากจีน   เมื่อจีนได้เปรียบดุลการค้าสหรัฐ       100 พันล้านดอลลาร์  จีนก็เอาเงินนี้ไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ  ซึ่งวงจรก็คือ จีนให้สหรัฐกู้เงินเพื่อไปซื้อสินค้าจีน  ขณะนี้คนที่เป็นเจ้าหนี้พันธบัตรสหรัฐราว  ครึ่งหนึ่งของพันธบัตรสหรัฐทั้งหมดคือเอเชีย  กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ จีน ให้รัฐบาลสหรัฐกู้เงินไปทำสงครามรวมทั้งลดภาษีให้กับเศรษฐีชาวอเมริกัน  จนรัฐบาลสหรัฐขาดดุลงบประมาณและประเทศขาดดุลการค้า จีนไม่น่าจะมี เหตุผลทางเศรษฐกิจในระยะยาว  ที่จะถือพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งให้ดอกเบี้ยต่ำ และ ค่าเงินดอลลาร์ก็อ่อนลงมาแล้วหนึ่งในสาม   และมีแนวโน้มจะลดลงต่อไปอีก  จีนอาจจะมีเหตุผลทางยุทธศาสตร์ก็ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เดี๋ยวนี้สหรัฐต้องเกรงใจจีนในเรื่องกรณีไต้หวัน  เพราะถ้าจีนขาย    พันธนบัตรสหรัฐ จะมีผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของสหรัฐยิ่งกว่าสหรัฐ ถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูอีก แต่จีนก็ต้องการ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อจ้างงานและเลี้ยงดูประชาชนในประเทศของตน และสหรัฐก็เป็นตลาดใหญ่ที่สุดของจีนในเวลานี้ จึงเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ที่จีนยังคงผูกติดเงินหยวนไว้กับดอลลาร์  ทั้งที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับเงินยูโร และ เงินเยน การที่จีนถือเงินสำรองเป็นดอลลาร์ไว้มาก  ก็ทำให้จีนต้องผูกเงินหยวนไว้กับดอลลาร์สหรัฐต่อไป  โดยไม่มีทางเลือกมากนัก (สหรัฐ ก็ได้ประโยชน์จากการซื้อของถูกจากจีน และทำให้ไม่เกิดเงินเฟ้อ แต่นักการเมืองสหรัฐทำเป็นโจมตีว่า จีนควรจะปรับค่าเงินหยวนขึ้น เพราะพวกเขาต้องการหาเสียงกับคนอเมริกันโดยโทษว่าสินค้าจีนราคาถูกทำให้ สหรัฐขาดดุลการค้าและคนอเมริกันที่ว่างงาน ทั้ง ๆ ที่เกิดมาจากหลายปัจจัยมากกว่า)
              เศรษฐกิจของ โลก จึงอยู่ในสถานะติดกับอยู่กับคู่แฝดจีน สหรัฐ  ซึ่งต่างคนต่างมีปัญหาความเสี่ยงคนละแบบ จีนมีความเสี่ยงเรื่องการพัฒนาที่ร้อนแรง . ไม่สมดุล และสร้างความไม่มั่นคงทางสังคม (จากปัญหาการว่างงานและความเหลื่อมล้ำต่ำสูง) ขณะที่สหรัฐมีปัญหาความเสี่ยงด้านการเงินการคลัง  คือใช้จ่ายเกินตัวมาก  ถึงขนาด IMF  วิจารณ์ว่าอ้อม ๆ สหรัฐกำลังจะกลายเป็นประเทศที่เริ่มด้อยพัฒนาลงจากเดิมอย่างรวดเร็ว เพราะความไม่รับผิดชอบทางด้านการเงินการคลัง ผสมกับการขาดวุฒิภาวะทางการเมืองของผู้นำไม่ตระหนักถึงความเป็นจริงทางภูมิ รัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ  ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐถดถ่อย  และคนอเมริกันเลิกซื้อสินค้าจีน  ก็จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำลงไปอีก เพราะจีนจะเลิกซื้อพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งเคยช่วยให้เศรษฐกิจฟองสบู่ของสหรัฐอยู่ได้ และจีนจะขายพันธบัตรเหล่านี้ออกมาด้วย   หรือถ้าหากเศรษฐกิจจีนเกิดมีปัญหา และจีนเลิกผันเงินดอลลาร์เข้ามาในระบบเศรษฐกิจสหรัฐ เศรษฐกิจสหรัฐก็จะพัง และเศรษฐกิจจีนรวมทั้งเศรษฐกิจโลกก็จะพังตาม   ดังนั้นจีนคงต้องช่วยประคับประคองเศรษฐกิจแบบเป็นหนี้ของสหรัฐ เพื่อประโยชน์ของจีนเองต่อไป  เพราะจีนก็หยุดโตไม่ได้  แนวโน้มต่อไปจีนก็ต้องการเงินดอลลาร์เพื่อสั่งเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงเศรษฐศาสตร์จะได้ชื่อว่าเป็นศาสตร์แห่งความเศร้าหมอง(DISMAL  SCIENCES)  แต่ก็ยังเป็นศาสตร์ที่ดีกว่าที่พวกนักการเมืองที่มุ่งหาเสียงและนักลงทุนที่ มุ่งหาแต่กำไร จะเข้าใจ  “โลกตะวันตก เป็นหนี้ติดตัวแดง   และถ้ามันล่ม มันก็จะดึงโลกตะวันออกให้ล่มด้วย
                (เก็บความจาก บทความของ IAM WILLIMS  CHINA – US: DOUBLE  BUBBLES  IN DANGER OF COLLIDING  ใน WWW.ATIMES.COM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น