วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสถาปนาระบอบสาธารณรัฐ

                                ในชั่วระยะ ๑๐ ปีเศษ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี ๑๙๑๑ นั้น  ผู้คนแข่งขันกันเพื่อจะชิงอำนาจการปกครองในประเทศจีน  ทีสำคัญอาจแบ่งได้เป็น ๓ พวก คือ กลุ่มก่อการปฏิวัตินำโดย ซุนยัดเซ็น     กลุ่มสนับสนุนการปฏิรูปนำโดย เหลียงฉี่เชา  และคังอิ่วหวุย  และกลุ่มฉวยโอกาสนำโดย หยวนซื่อไข่  กลุ่มแรกประกาศตนเป็นศัตรูต่อราชวงศ์แมนจูอย่างเปิดเผย  กลุ่มที่ ๒ ต้องการแต่เพียงลดฐานะของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ  ส่วนกลุ่มสุดท้ายนั้นมีความคิดเห็นในด้านการเมืองไปในทางใดไม่ปรากฏชัด  ความล้มเหลว    ในการปฏิรูปปี ๑๘๙๘  อันเป็นผลให้เหลียงฉี่เชาและคังอิ่วหวุย  ต้องหนีเอาตัวรอดไปตั้งหลักแหล่งในประเทศญี่ปุ่น  ความหายนะอันเกิดจากกบฏมวยปี ๑๙๐๐  การบีบคั้นของจักรวรรดินิยมตะวันตกและญี่ปุ่นการใช้ดินแดนแมนจูเรียเป็นแหล่งขยายอิทธิพลของรุสเซียและญี่ปุ่น  เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้น้ำหนักตาเต็งหันเหมาทางกลุ่มก่อการปฏิวัติมากขึ้นตามลำดับ  ประจวบกับในวันที่ ๑๔ และ ๑๕ พฤศจิกายน ๑๙๐๘ พระราชชนนีฉือซีและจักรพรรดิกวางซวี่ได้สิ้นชีพไปอย่างลึกลับนั้น  ทำให้เหตุการณ์สับสนยิ่งขึ้น
                                กลุ่มเหลียงคังและกลุ่มหยวนไร้ที่พักพิง  ความจงรักภักดีส่วนตัวของเหลียงและคังที่มีต่อจักรพรรดิกวางซวี  ผู้อุปถัมภ์การปฏิรูปปี ๑๘๙๘ ของตนนั้น  คงจะมีส่วนย้อมจิตใจของเขาในเรื่องความคิดเห็นในทางการเมืองอยู่ไม่น้อย  ลาภยศของหยวนได้สูญเสียไปพร้อมกับการตายของพระราชชนนีฉือซี               เพราะพระองค์เจ้าชุนเป็นผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิชวนกุ่งผู้มีพระชนมายุเพียง ๒ ชันษา นั้น  ชุบเลี้ยง       แต่พวกแมนจู  ดังนั้นในขณะทำการปฏิวัติปี ๑๙๑๑ นั้น  พวกก่อการปฏิวัติจึงมิได้ประสบกับการต้านทานอย่างแข็งขันจากฝ่ายรัฐบาลแต่อย่างใด
                               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น