วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิวัติครั้งที่สองของจีน ปี ค.ศ. 1949

ความสำคัญ การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 โดยการนำของ หมา เจ๋อตุงผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์

สาเหตุการปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง (ค.ศ. 1939 – 1945) สรุปได้ดังนี้
(1) ปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจและความยากจนของประชาชน
ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี เจียง ไคเช็ค ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
(2) การเผยแพร่อุดมการคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร โดยให้ความสำคัญแก่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร และเป็นศัตรูกับชนชั้นนายทุน

ความสำเร็จของการปฏิวัติของจีนปี ค.ศ. 1949 สรุปได้ดังนี้
(1) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ เหมา เจ๋อตุงรัฐบาลได้ยึดที่ดินทำกินของ
เอกชนมาเป็นของรัฐบาล และใช้ระบบการผลิตแบบนารวม (หรือระบบคอมมูน) ชาวนามีฐานะเป็นแรงงานของรัฐ ทำให้ชาดความกระตือรือร้นเพราะทุกคนได้รับผลตอบแทนท่ากัน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนส่วนใหญ่มีสภาพลำบากยากจนเหมือนๆ กัน
(2) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ เติ้ง เสี่ยวผิงเป็นยุคที่จีนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นระบบตลาดหรือทุนนิยม โดยมรับแนวทางทุนนิยมของชาติตะวันตกมากขึ้น เช่น เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติเพื่อให้คนจีนมีงานทำ และอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจการค้าได้ เป็นต้น ทั้งนี้ มีระบอบการปกครองยังคงเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนเดิม
(2) นโยบาย หนึ่งประเทศ สองระบบในสมัยของ เติ้ง เสี่ยวผิงหมายถึง มี
ประเทศจีนเพียงประเทศเดียว แต่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครอง 2 แบบ ได้แก่
- ระบอบคอมมิวนิสต์ สำหรับจีน
- ระบอบประชาธิปไตยและทุนนิยมเสรี สำหรับฮ่องกงและมาเก๊า

ผลกระทบของการปฏิวัติจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ.1949 คือ
(1) การปฏิวัติของ เหมา เจ๋อตุงเป็นแบบอย่างในการปฏิวัติของกระบวนการ
คอมมิวนิสต์ในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ ป่าล้อมเมืองโดยเริ่มจากการปฏิวัติของเกษตรในชนบทและค่อยๆ ขยายเข้าไปสู่เมือง
(2) การปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวของ เติ้ง เสี่ยวผิงโดยมรับระบบทุนนิยมของโลกตะวันตก เป็นคัวอย่างความสำเร็จของการแยกระบบการปกครองออกจากระบบ
เศรษฐกิจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น