วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิวัติของจีนครั้งแรก ปี ค.ศ. 1911

2.1 ความสำคัญ การปฏิวัติจีนครั้งแรก เกิดในปี ค.ศ. 1911 เป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิงซึ่งชาวแมนจู โดยการนำของ ดร.ชุน ยัดเซน หัวหน้าพรรคก๊ก มิน ตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด
2.2 สาเหตุการปฏิวัติครั้งแรกของจีน ปี ค.ศ. 1911 สรุปได้ดังนี้
(1) การคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตกแลญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู
(2) ความอ่อนแอของราชวงศ์ชิง จักรพรรดิแมนจูปกครองจนเป็นเวลา 268 ปี (ค.ศ. 1644 – 1912) ส่วนใหญ่ขาดความเข้มแข็งในการปกครอง มีการแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์
(3) ความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ราษฎรส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากแผ่นดินจีน
2.3 ลัทธิไตรราษฎร์ของ ดร. ซุน ยัดเซ็น เพื่อให้การแก้ปัญหาของของประเทศชาติ ประสบผลสำเร็จ ดร.ซุน ยัดเซ็น ผู้นำฯ ได้ประกาศอุดมการณ์ของการปฏิวัติ 3 ประการ เรียกว่า ลัทธิไตรราษฎร์มีดังนี้
(1) ประชาธิปไตย มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
(2) ชาตินิยม ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไปจากจีน
(3) สังคมนิยม มีการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร
2.4 ความสำเร็จในการปฏิวัติ ดร.ซุน ยัดเซน ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มราชวงศ์ชิงทำให้จักรพรรดิปูยี (Pu-Yi) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน ต้องสละราชสมบัติในปีถัดมา
2.5 ความล้มเหลวของระบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย โดย ยวน ซีไขผู้นำทางทหารได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี แต่เนื่องด้วยเป็นผู้ไม่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยคิดจะสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ จึงเกิดความแตกแกภายในประเทศ และประสบปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจตามมา
2.6 ผลกระทบขงการปฏิวัติจีนครั้งแรก ปี ค.ศ.1911 ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก คือ
(1) ลัทธิชาตินิยม เกิดความตื่นตัวในกรแสความคิดชาตินิยมในหมู่ผู้นำปัญญา
ชนในภูมิภาคต่างๆ ของเอเชีย เพื่อขับไล่อิทธิพลการครอบงำของชาติมหาอำนาจ
(2) ลัทธิประชาธิปไตย เกิดความนิยมระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีรัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยต้องการยกเลิกระบบการปกครองแบบเก่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น