วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเจริญเติบโตในอัตราสูง

              ในยุคสังคมนิยม เศรษฐกิจจีนเติบโตในช่วงปี ค.ศ. 1952-1978 เฉลี่ยปีละ 5.7% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูง ตั้งแต่จีนปฏิรูประบบเศรษฐกิจและใช้นโยบายเปิดเสรี ในปี ค.ศ. 1978  อัตราการเจริญของผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นในอัตราสูงขึ้นมาโดยตลอดโดยได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำในเอเชียในช่วงปี 1977 1978 น้อยมาก อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วงปี 1979 2000  ยังเจริญเติบโตในอัตรา 7.3-7.5% เนื่องจากจีนเป็นประเทศใหญ่ ประชากรมาก  มีตลาดภายในประเทศที่ใหญ่  จึงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชลอตัวน้อยกว่าประเทศอื่น 80% ของการเจริญเติบโตเศรษฐกิจมาจากความต้องการภายในประเทศ แต่การส่งออกในรอบ 2 ทศวรรษ ก็มีอัตราเพิ่มถึงปีละ 15% และในปี 2000 จีนเป็นประเทศที่มีมูลค่าส่งออกสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก การส่งออกของจีนมีความสำคัญมากกว่า 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม เพราะว่าภาคส่งออกของจีน มีผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจสูง โครงสร้างสินค้าออกของจีน ในรอบ 2 ทศวรรษก็เปลี่ยนไปมาก จากที่เคยส่งออกสินค้าขั้นปฐม เช่น ผลผลิตการเกษตร  ถ่านหิน น้ำมัน กลายเป็นสินค้าอุตสาหกรรม และในครึ่งหลังของทศวรรษ 1990 ชนิดของสินค้าอุตสาหกรรมก็เปลี่ยนจากสินค้าที่ใช้แรงงานมาก เช่น ผ้า , เสื้อผ้า , รองเท้า และของเด็กเล่น เป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง และมีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ (ไฟฟ้า) และเครื่องจักรเป็นสัดส่วนสูงขึ้น (42% ของ สินค้าออกทั้งหมดของจีนในปี 2000) การลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ (FDI) ในประเทศจีนก็เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วมาก ช่วงปี   1988 2001 เพิ่มขึ้นถึงปีละ 30% และเมื่อสิ้นปี 2002 มีต่างประเทศไปลงทุนในจีนรวม 446 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวครึ่งหนึ่งของการลงทุนในเอเชียทั้งหมด
              การที่มีการลงทุนต่างประเทศในจีนสูงมาก บวกกับการที่จีนได้เปรียบดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้จีนมีเงินลงทุนสำรองต่างประเทศ มากเป็นที่สองของโลก คือรองจากญี่ปุ่น (กลางปี 2002  มีเงินทุนสำรองต่างประเทศ 250 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)  โดยจีนเป็นหนี้ต่างประเทศ ต่ำกว่าเงินทุนสำรองมาก หนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว เงินตรา เหรินเหมินปี้”  หรือหยวนของจีนเป็นเงินตราสกุลแข็ง ที่ถูกสหรัฐเรียกร้องให้มีการปรับค่าให้สูงขึ้น
              การที่จีนมีอัตราการเจริญเติบโตสูง ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของจีนเพิ่มขึ้นเท่าตัวในรอบ 10 ปี GDP ในปี 1978 (ปีที่เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจ) 362 พันล้านหยวน ถึงปี 2001 เพิ่มเป็น 3,435  พันล้านหยวน ถ้าคิดเทียบเป็นดอลลาร์สหรัฐ จีนจะมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก แต่ถ้าคิดแบบเปรียบเทียบกับ อัตราค่าครองชีพ (PPP) ของจีน ซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่นมากแล้ว   จีนจะมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2  รองจาก GDP สหรัฐที่คิดแบบเทียบค่าครองชีพเท่านั้น แต่การคิด GDP แบบเปรียบเทียบค่าครองชีพเช่นนี้ อาจจะสูงเกินความจริงไปก็ได้
              ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ต่อหัวของจีนในปี 2002 เฉลี่ยอยู่ราว 900 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ มีความแตกต่างกันสูงมาก ระหว่างภาคตะวันออกและเมืองชายฝั่งทะเลที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง ที่คนชั้นกลางอาจจะมีรายได้เฉลี่ย ถึงปีละ 4,000 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ กับประชากรในแถบตะวันตกและที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ที่มีการพัฒนาน้อยกว่าซึ่งมีรายได้เฉลี่ยเพียง 400-500 ดอลลาร์สหรัฐ
              ในปี 2001  ภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนใน GDP สูงถึง 45% ซึ่งสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไป สินค้าอุตสาหกรรมที่จีนผลิตได้มากคือ ถ่านหิน , เหล็กกล้า , โทรทัศน์สี , ตู้เย็น , เครื่องปรับอากาศ , โทรศัพท์มือถือ , คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล , มอเตอร์ไซค์ และ รถยนต์ ปลายปี 2002 จีนมีคนลงทะเบียนใช้  อินเตอร์เน็ต 59 ล้านคน ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากสหรัฐ อุตสาหกรรมรถยนต์และการใช้รถยนต์ภายในประเทศก็กำลังเติบโตมาก  ซึ่งทำให้จีนต้องสั่งน้ำมันเข้า และมีปัญหามลภาวะทางอากาศเพิ่มขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น